ประสบการณ์จากการใช้ Freeware และ Opensource

ผมทำงานในบริษัทใหญ่แห่งหนึ่ง ปัญหาที่เพิ่งช็อคกันเมื่อสักหนึ่งปีที่ผ่านมาคือเรื่องปัญหาลิขสิทธิ์โปรแกรม บริษัทฯโดน BSA นำโดย Autocad บุกชาร์ต บริษัทฯ เสียเงินร่วมไปเบาะๆประมาณ 20 ล้านบาท นี่แค่โปรแกรม Autocad โปรแกรมเดียวนะครับ และที่บริษัทฯโดยก็แค่ชั้นเดียว ถ้าหลายๆชั้นจะเท่าไหร่ นี่ถ้าพ่วง Microsoft มาด้วยต้องกระอักเลือดไม่น้อย ไหนจะ windows ไหนจะ Microsoft Office

ผมเองในฐานะลูกจ้างคนหนึ่ง ก็พยายามช่วยบริษัทฯ โดยเริ่มจากตัวเองก่อน โปรแกรมแรกที่เปลี่ยนก็คือ Microsoft Office ไปใช้ OpenOffice ซึ่งเป็น opensource ฟรีแทน ผมมีแนวร่วมกล้าตายเป็นลูกน้อง 1 คน (ฮา ฮา อา) เราใช้ Openoffice กันมาได้ หลายเดือนแล้วครับ ได้ผลดี ถ้าใช้บน windows แต่ถ้าไปใช้บน ubuntu หรือ pclinuxos ที่ผมใช้อยู่จะมีปัญหาเรื่องฟอนต์ คือฟอนต์จะไม่เหมือนกัน ทำให้ขนาดตัวหนังสือที่เล็กใหนวินโดส์ แต่ใหญ่เบ้อเริ่มใน Linux แต่เราแก้ไขกันโดยใช้ Thai Font free ที่สามารถหา download กันได้ ว่างๆจะมาคุยกันอีกครั้งครับ

โปรแกรมที่สองคือ Adobe Photoshop ที่เครื่องไหนๆก็มักจะติดตั้งกันเป็นสามัญประจำเครื่อง โดยไม่ตระหนักเรื่องลิขสิทธิ์ โปรแกรมนี้แนวร่วมยังไม่มี เพราะหลายๆคนยังเสพติดกับ photoshop อยู่ ไม่เป็นไร ไม่ท้อ ผมเปลี่ยนไปใช้ Gimp ความจริงผมใช้ photoshop ไม่มากนัก คือใช้แค่ไม่กี่ feature เอง ความยึดติดยังไม่มาก พอใช้ Gimp ลองผิดลองถูกเดี๋ยวก็ใช้ได้เอง ก็ไม่ได้รู้สึกว่ายากแต่อย่างไร

โปรแกรมต่อไปคือ Irfanview ตัวนี้ใช้แทน ACDSEE อายุของ Irfanview ก็ 13 ปีกว่าๆแล้ว มานานขนาดนี้ก็ไม่ธรรมดา พอใช้ไปสักพักก็ชอบในความเล็ก เร็ว แสดงภาพที่เป็นไฟล์วีดีโอ ได้ดีพอสมควร โปรแกรม Irfanview ตัวนี้เป็น freeware ถ้าไม่นำโปรแกรมไปใช้ในทางการค้า

โปรแกรม Antivirus อันนี้ยอมซื้อผมใช้ kaspersky ใช้ดีพอสมควร เล็ก เร็ว ไม่หน่วงเครื่อง แต่ถ้า Boot เข้า linux ไม่ว่าเป็น Ubuntu หรือ PCLinuxOS ก็ไม่ต้องเพราะไม่มี virus บนโลก linux มากวนใจ ผมต้องบอกไว้ก่อนว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ผมใช้เป็น Notebook ติดตั้ง OS ไว้ 3 อย่างคือ Windows, Ubuntu Linux และ PCLinuxOS หรือ PCLos ผมอ่านข่าวแล้วตกใจเพราะว่า Antivirus เป็นโปรแกรมที่ละเมิตลิขสิทธิ์มากที่สุดในประเทศไทยเรา รองลงมาคือโปรแกรมด้าน Office ยังไงๆ ถ้าไม่มีของฟรีที่ถูกใจ ก็หันมาอุดหนุนลิขสิทธิ์ก็ดีไม่แพง สำหรับ Antivirus ที่ว่า

สำหรับโปรแกรมสามัญประจำเครื่องแต่ละคนที่ไม่ขาดเลยก็คือโปรแกรมเขียนแผ่นซีดี/ดีวีดี  ในเมืองไทยฮิตที่สุดก็ต้อง Nero มี feature มากกว่าจะเป็นโปรแกรมเขียนแผ่นซีดี แต่หลายๆคนก็ไม่เคยใช้มันสักที ที่สำคัญคือเป็นโปรแกรมไม่ฟรี ผมเลือกใช้ CDBurnerXP แทน นอกจากเขียนแผ่นแล้วยังเขียนอ่าน image ของแผ่นได้แค่นี้พอแล้วครับ

กลับมาที่จุดเริ่มต้นอีกครั้งแล้ว Autocad ใช้อะไรแทน เรื่องนี้ผมก็เห็นใจบริษัทฯอยู่มากเหมือนกัน เพราะไปประมูลงานที่ไหนก็ไม่เคยคิดนำราคาของโปรแกรมที่ใช้อยู่ไปเป็นต้นทุนในการประมูลงาน ทางผู้บริหารซื้อ Autocad  ให้แผนกผมประมาณ 3 License แผนกอื่นๆที่ใหญ่กว่าก็ได้มากกว่า แต่ถามว่าพอใช้ทุกคนไหม ไม่ยังขาดอยู่หลายๆคน ผมพยายามหาอะไรที่ฟรีมาใช้ หรืออะไรก็ได้ที่ถูกกว่ามาลองใช้ดูก่อน แต่เชื่อไหมไม่ว่าจะใน Linux ไม่มีโปรแกรมไหนเทียบเคียงกับ Autocad ได้ (แต่ถ้าไปถามคนใช้ Microstation ซึ่งเป็นโปรแกรม Cad เช่นเดียวกันอาจจะได้รับคำเยาะเย้ย) ตอนนี้กำลังลอง BricsCad ซึ่งมันถูกกว่าร่วมๆแสนต่อ license ก็พอใจมากๆ แต่ยังมีบางอย่างที่ต้องลองกันต่อดูกันไปสักพักใหญ่ๆ

เรื่องลิขสิทธิ์นี้ คนไทยเรายังเคยชินอยู่กับการใช้แผ่นเถื่อนที่หากันได้ง่ายๆเหมือนกับเป็นของฟรี ทำให้ไม่เห็นคุณค่าสักเท่าไหร่ ในเครื่องผมก็ยังมีโปรแกรมหลายๆตัวที่ยังเถื่อนอยู่ แต่ก็พยายามหาของฟรีหรือ opensource มาใช้แทนถ้าหาได้ ส่วนโปรแกรมด้าน engineering หลายตัวก็เสนอให้บริษัทฯซื้อและใช้งานเป็นลิขสิทธิ์อยู่ แต่ในชีวิตผมในการทำงานผมใช้ Windows ประมาณ 30% ที่เหลือเป็น linux หมดไม่ว่าการใช้ Openoffice ใช้ internet ส่ง email จิปาถะ ชีวิตหลังเลิกงานเป็น Linux 100% ดูหนังฟังเพลงใช้ internet หรือ chat ก็ตาม เพราะฉะนั้นโปรแกรมด้าน multimedia (ดูหนังฟังเพลง) บน windows จะไม่มีเลย ยังมีอะไรอีกมากที่จะคุยกันเรื่องนี้ วันนี้พอแค่นี้ก่อน