ประสบการณ์ติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำเฉพาะกิจ (Automatic Tide Gauge)

ในงานก่อสร้างทางทะเลที่ผมทำอยู่ปัจจุบัน ในสัญญาระบุว่าต้องติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำให้ด้วยเป็นแบบ Automatic Tide Gauge คือสามารถวัดระดับน้ำและบันทึกข้อมูลลงจัดเก็บในไฟล์คือเก็บเข้า sd card ได้ทุก 15 นาที ข้อกำหนดว่าไว้อย่างนั้น บรรทัดน้ำ ด้วยความที่ไม่เคยติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านนี้มาก่อน ก่อนหน้านี้เป็นผู้ใช้งานอย่างเดียว ถ้าจะติดตั้งใช้งานเองประมาณว่าใช้ไม้หน้าสี่ทาสีแล้วพ่นสีสเปรย์ เรียกกันว่าไม้บรรทัดน้ำ โดยที่รูปแบบคล้ายๆกับสตาฟที่อ่านในงานระดับ ตอนติดตั้งก็เดินระดับจากหมุดที่ทราบค่าลงผิวน้ำ ติดตั้งบรรทัดน้ำให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้เคลื่อนไหว…

Continue Reading →

เมื่อคลื่นลมแปรปรวน กับการใช้ Emlid RS2 บนความสูงโพล 15 เมตร

พื้นฐานดั้งเดิมของผมคือทำงานมารีนมาโดยตลอด สลับกับการทำงานบนบกบ้างเป็นบางคราว ครั้งนี้ไปทำงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่บังคลาเทศประมาณ 5 ปี ก็ได้หวนกลับสู่งานมารีนอีกคราคืองานก่อสร้างทางทะเลเป็นงานก่อสร้างเขื่อนกับคลื่นและทราย เป็นงานระดับเมกะโปรเจคโครงการหนึ่งทีเดียว เดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นเดือนแห่งฤดูมรสุมที่คลื่นลมแรงจัด เนื่องจากเรือสำรวจเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกินน้ำประมาณ 2.8 เมตร สภาพเรือเป็นเรือทำงาน (working boat) โครงสร้างเหล็กทั้งลำมาดัดแปลงเป็นเรือสำรวจ พอคลื่นลมแรงก็เป็นปัญหาไม่สามารถออกทำงานได้ด้วยอันตรายจากคลื่นสูงอาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ สำหรับบทความนี้ก็ขอเล่าประสบการณ์เซอร์เวย์ ที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นงานมารีน สำหรับงานสเป็คในงานสำรวจทางทะเลนั้นทั่วๆไปจะยอมให้ค่าความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่างานบก เนื่องจากลักษณะส่วนใหญ่เป็นงานใต้น้ำ…

Continue Reading →