โปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro

  • จุดมุ่งหมายของโปรแกรมเพื่อต้องการอำนวยความสะดวกในการคำนวณงานวงรอบที่ใช้ในงานสำรวจ เพื่อขยายหมุดทางราบ ให้ใช้งานง่ายๆ สะดวกรวดเร็ว
  • ผ่านกาลเวลามายาวนานพอสมควรสำหรับโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro บทความที่ลงมาใน blog ตั้งแต่โปรแกรมเวอร์ชั่น 1.2 รุ่นวินโดส์ XP จนผมพัฒนาและปรับปรุงใหญ่มาเป็นรุ่น 2.60 ในปัจจุบัน

หมวดหมู่บทความและลิ๊งค์

  1. แนะนำโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro สำหรับช่างสำรวจ/โยธา (ฟรี) บทความแนะนำวิธีการใช้งานรับโปรแกรมรุ่น 1.20
  2. หนทางข้างหน้าของ Traverse Pro ที่พัฒนาด้วย Lazarus (ตอนที่ 1) เส้นทางการพัฒนาปัญหาและอุปสรรค
  3. หนทางข้างหน้าของ Traverse Pro ที่พัฒนาด้วย Lazarus (ตอนที่ 2) เส้นทางการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มความสามารถ
  4. Traverse Pro รุ่นใหม่ version 2.50 (มาตามสัญญา) สุดท้ายมาตามสัญญาถึงแม้จะล่าช้าไปมาก
  5. คู่มือการใช้โปรแกรม Traverse Pro V2.50 คู่มือการใช้โปรแกรมได้รับเรียบเรียงจัดทำโดยคุณตั้ม
  6. โปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro รุ่น 2.60 (รุ่นล่าสุด) รองรับจอ 4K รุ่นปรับปรุงให้สามารถใช้งานบนจอมอนิเตอร์ 4K ได้
  • มีโครงการจะปรับปรุงแก้บั๊กเล็กๆน้อยๆ รวมถึงปรับ user interface เช่นการป้อนมุมให้สามารถทำได้ง่ายกว่าเดิม โปรดติดตามกันครับ

4 thoughts on “Traverse Pro”

  1. ขอสอบถามวิธีการตรวจสอบการคำนวณ Error Angle ใน Traverse Pro เพื่อจะนำเทคนิคและโปรแกรมใช้ในการสอนนักศึกษา คะ

    ขอบคุณคะ

    1. สวัสดีครับคุณ@อัญมณี สำหรับการหา Error Angle ในโปรแกรม ผมใช้วิธีคำนวณจากอะซิมัท สมมติว่างานวงรอบออกจากหมุดคู่ GPS ไปบรรจบกับหมุดคู่ GPS อีกคู่หนึ่ง ในตอนนี้เรามีค่าพิกัด GPS บนระบบพิกัดฉาก สามารถคำนวณหาอะซิมัททั้งสองคู่ จะได้ “อะซิมัทออกงาน” และ “อะซิมัทเข้าบรรจบ”
      ขั้นตอนต่อไปคือเอา”อะซิมัทออกงาน”มาบวกด้วยมุมที่ได้จากอ่านกล้องมุมแรก ต้องเป็นมุมตามเข็มนาฬิกา ค่าที่ได้เอามาบวกลบกับ 180 องศา (ถ้าเกิน 180 ลบด้วย 180 ถ้าน้อยกว่า 180 ให้บวกด้วย 180 หรือถ้าเกิน 540 ลบด้วย 540) จะได้อะซิมัทแขนของวงรอบ จากนั้นก็เอาค่าอะซิมัทตัวนี้บวกด้วยมุมที่ได้จากการอ่านมุมที่สอง แล้วก็มาบวกลบกับ 180 องศา ทำแบบนี้จนถึงมุมสุดท้าย จะได้ “อะซิมัทตัวสุดท้าย” อะซิมัทสุดท้ายสำคัญเพราะเราจะนำไปลบกับ “อะซิมัทเข้าบรรจบ” ที่ได้จากการคำนวณในตอนแรก ค่าต่างก็คือ Error angle นั่นเองครับ
      ส่วนการตรวจสอบ Error Angle ก็ดูได้จากโปรแกรม

      ส่วนงานวงรอบที่เป็นรูปปิด ใช้หลักการเดียวกัน เพียงแต่อะซิมัทออกงานกับอะซิมัทเข้าบรรจบเป็นตัวเดียวกัน ผมเพิ่มเติมอีกนิดหนึ่ง เวลาได้ Error angle จะดูว่าเกณฑ์เข้างานไหม งานชั้นหนึ่ง ชั้นสอง หรือชั้นสาม ต้องไปเปิดตารางที่กำหนดตามมาตรฐาน เช่นงานชั้นสามในปัจจุบัน (ตัวเลขนี้แต่ละประเทศอาจจะไม่เหมือนกัน) กำหนดให้ความผิดพลาดทางมุมไม่เกิน 10″√n (n คือจำนวนมุมที่รังวัดมาจากสนาม) สมมติว่าวงรอบมีจำนวน 25 มุม ความผิดพลาดทางมุมต้องไม่เกิน 10″√25 = 50″ ถ้า error angle เกินต้องไปตรวจสอบตัวเลข ถ้าตรวจสอบตัวเลขไม่ได้ป้อนผิดก็ต้องออกสนามไปวัดมุมใหม่

  2. ในคู่มือการเลือก Indian Datum (Thailand)
    น่าจะ demote นะครับ
    และทำตัวอย่างเริ่มต้นเป็น WGS 1984
    เพราะมีผู้เริ่มเรียนสำรวจมือใหม่ ไม่ทราบ
    เมื่อปฏิบัติงานร่วมกับ หมุดควบคุมได้จาก
    GNSS ที่มักจะอ้างอิง WGS84
    แต่คู่มือ ปรากฏภาพ เหมือนจะแนะนำให้ใช้ Indian Datum

    1. ขอบคุณมากครับอาจารย์ ออกแบบและเขียนไว้นานหลายสิบปีแล้ว ตอนนี้ไม่มีเวอร์ชันใหม่ ว่างๆผมจะแก้ไขตามคอมเมนต์ให้ครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *