ออกแอพตัวที่สอง “SurveyStar Calculator” สำหรับแอนดรอยด์

ย้อนไปสู่พื้นฐานงานสำรวจ (Back to the basic)

ผมเคยบอกกันไว้ในบล็อกในบทความก่อนหน้านี้ว่าได้พัฒนาแอพพื้นฐานงานสำรวจ ชื่อเดิมที่ตั้งกันมาคือ SuperCOGO จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น SurveyStar COGO สุดท้ายแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น SurveyStar Calculator ในที่สุด เพราะว่าตัวแอพเองมีมากกว่า COGO

ภาษาและเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (Dart & Flutter)

ใช้ภาษาดาร์ทกับฟลัตเตอร์ (Dart & Flutter) ที่เป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการพัฒนาโปรแกรม เดิมเป็นของกูเกิ้ลและปล่อยผ่านเป็น open-source ในกาลต่อมา จากที่ใช้ภาษาดาร์ทและฟลัตเตอร์พัฒนาแอพแรก Ezy Geo Pro และต่อด้วย SurveyStar Calculator ใช้เวลาพัฒนาแอพละหนึ่งปี รวมสองแอพเป็นสองปี ใช้เวลาพัฒนาแต่ละแอพนาน เนื่องจากมีงานประจำ

ฟลัตเตอร์และดาร์ท

สองปีสำหรับภาษาดาร์ทและฟลัตเตอร์ถือว่าผ่านร้อนผ่านหนาวมาแล้ว จากที่จับตอนแรกๆแทบกระอักเลือดเพราะ concept ของภาษามันต่างภาษาที่ผมเคยใช้กันมาเช่น ไพทอน ปาสคาล หรือซี ตัวภาษาดาร์ทเองก็ไม่ได้ยากเกินไปนัก แต่มากระอักเลือดที่ตัวฟลัตเตอร์ตัวเขียน GUI ผ่านมาสองปีถือว่าสอบผ่าน ถึงยังไม่กระจ่างนักกับบางส่วนของภาษาและเครื่องมือตัวนี้ แต่พอเอาตัวรอดได้ ส่วน editor สำหรับเขียนโปรแกรมใช้ VS Code

หน้าตาของแอพ (User Interface)

หน้าแรกของแอพจะเป็นลักษณะโมดูล จัดเรียงเป็นหมวดหมู่ดังนี้

  1. Basic survey เป็นพื้นฐานงานสำรวจเช่นกำหนดค่าพิกัดสองค่า หาระยะทางและอะซิมัท หรือกำหนดค่าพิกัดมาสามจุด สามารถหามุมราบได้
  2. Offset solutions เป็นพื้นฐานการออฟเซ็ทจุดต่างๆหรือออฟเซ็ททั้งเส้นตรง และมีโมดูลพิเศษคือ Pile Array Generator ที่สามารถสร้างค่าพิกัดของเสาเข็มกลุ่มได้ ตามรูปแบบที่เลือกและกำหนดระยะห่างและขนาดเสาเข็มได้
  3. Circle solutions เป็นพื้นฐานการหาตำแหน่งจุดศูนย์กลางวงกลม จากข้อมูลที่มีเช่นทราบจุดบนวงกลมสามจุดหรือมากกว่าสามจุดที่ใช้การคำนวณหาพิกัดจุดวงกลมแบบ least-squares
  4. Curve solutions เป็นงานคำนวณโค้งทางทั้งดิ่งและราบ โดยโค้งราบจะมีทั้งโค้งวงกลมและสไปรัล
  5. Intersection solutions เป็นพื้นฐานการหาจุดตัดระหว่างเส้นตรงกับเส้นตรง เส้นตรงกับวงกลม และวงกลมกับวงกลม
  6. Miscellanous เช่นคำนวณหาพื้นที่จากจุด คำนวณหาจุดเล็งสกัดย้อน

คลิปสอนวิธีการใช้งาน

ผมจัดทำคลิปสอนวิธีการใช้งานแบบสั้นๆ อยู่ภายในโมดูล ผู้ใช้สามารถแตะไอคอนรูปยูทูปและเล่นได้ โดยคลิปสอนวิธีการใช้งานจะถูกโฮสต์อยู่ที่ youtube.com

คลิปรวมมิตร

เป็นการนำคลิปสอบการใช้งานมาเรียงกันแบบการ์ดต่อๆกัน คลิปสอนการลบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล (save) ภายในแอพเพื่อนำมาใช้ใหม่ การจัดเก็บข้อมูลภายนอกแอพ การก๊อปปี้และวาง (copy & paste) ข้อมูล input และ output ในคลิปบอร์ด

รูปแบบการป้อนข้อมูล คำนวณและแสดงผลลัพธ์

แนวทางการใข้งานแต่ละโมดูลหรือฟีเจอร์ หน้าแรกจะเป็นการป้อนข้อมูล Input เมื่อปัดไปหน้าสองจะเป็นหน้าคำนวณโดยการกดแตะที่ไอคอนรูปประแจ Resolve ผลลัพธ์จะออกมา จากนั้นต้องการดูรูปผลลัพธ์ก็ปัดไปหน้า Plot

การบันทึกข้อมูลและเรียกใช้ภายในแอพ

ข้อมูลแต่ละชุดสามารถจัดเก็บภายในเพื่อเรียกมาใช้คำนวณทีหลังได้ หมายเหตุ ไม่จัดเก็บข้อมูลแยกเป็นจุด แต่จะจัดเก็บข้อมูลทั้งหมด

การบันทึกข้อมูล input & output เข้าจัดเก็บไฟล์ภายนอกแอพ

ข้อมูลที่ป้อนเข้าไปหรือข้อมูลที่ได้จากผลลัพธ์สามารถจัดเก็บเป็น text file ได้ ไม่ว่าจะจัดเก็บเข้าไว้ในพื้นที่ของโทรศัพท์หรือไดรว์จำพวกคลาวด์เช่น Google drive, One drive หรือ iCoud เป็นต้น สำหรับรุ่นถัดๆไปอาจจะเก็บข้อมูลเข้าฟอร์แมตยอดนิยมอย่าง excel

การตั้งค่า (Settings)

การตั้งค่าได้แก่เลือกธีมทั้งมืดหรือสว่าง รวมทั้งปรับทศนิยมของตัวเลขประเภทต่างเช่นจำนวนทศนิยมของค่าพิกัด ค่าระดับ

รุ่นสำหรับไอโอเอส

รุ่นสำหรับไอโอเอส (iOS) จะตามหลังแอนดรอยด์มาห่างๆ เนื่องจากข้อกำหนดต่างๆของแอปเปิลที่จะให้แอพผ่านรีวิวจากเขาค่อนข้างจุกจิกมากกว่ากูเกิ้ล ต้องใช้เวลาทำนานกว่า

ราคา

ถ้าต้องการใช้ทุกฟิเจอร์หรือทุกโมดูลก็ต้องแอคทิเวทหรือ subscription ซึ่งจะมีราคาหนึ่งเดือน ครึ่งปี และหนึ่งปี ราคาขนาดนี้ถ้าเป็นที่ยุโรปหรืออเมริกาไม่แพง ผมพยายามจะปรับราคาใหม่ในรุ่นต่อไปให้ราคาลดลงสำหรับประเทศทางเอเซียเช่นบังคลาเทศ ไทย หรือสปป.ลาวในลำดับถัดไป แต่ก็ตระหนักกันไว้ว่าของฟรีและดีไม่มีในโลกนี้ และอีกอย่างผู้พัฒนาแอพเองก็ต้องกินต้องใช้เหมือนกัน ถ้ามีกำลังทรัพย์พอก็อุดหนุนกันได้ครับ

ตลาดเป้าหมาย

แอพตัวนี้จะวางขายทั่วโลก 175 ประเทศเนื่องจากวิชาการสำรวจเป็นมาตรฐานสากลเดียวกัน ความต่างอาจจะมีบ้างเช่นบางที่ยังใช้อะซิมัทกวาดจากทิศใต้ ซึ่งผมคิดว่าใช้กันน้อยเลยยังไม่ได้ใส่ตัวเลือกนี้ การเรียงลำดับแบบ Easting, Northing ก็ยังไม่ได้ใส่เช่นเดียวกัน

ดาวน์โหลดและติดตั้งบนแอนดรอยด์

สามารถใช้มือถือแอนดรอยด์ไปดาวโหลดได้ที่ google play store รักชอบก็อุดหนุนกันได้ครับ

2 thoughts on “ออกแอพตัวที่สอง “SurveyStar Calculator” สำหรับแอนดรอยด์”

  1. ใช้ได้ปนะโยาชน์กับงานคำนวณช่างสำรวจ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *