ออกแอพตัวที่สอง “SurveyStar Calculator” สำหรับแอนดรอยด์

ย้อนไปสู่พื้นฐานงานสำรวจ (Back to the basic) ผมเคยบอกกันไว้ในบล็อกในบทความก่อนหน้านี้ว่าได้พัฒนาแอพพื้นฐานงานสำรวจ ชื่อเดิมที่ตั้งกันมาคือ SuperCOGO จากนั้นเปลี่ยนชื่อเป็น SurveyStar COGO สุดท้ายแล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น SurveyStar Calculator ในที่สุด เพราะว่าตัวแอพเองมีมากกว่า COGO ภาษาและเครื่องมือพัฒนาโปรแกรม (Dart &…

Continue Reading →

ติดปีกเครื่องคิดเลขเทพ Casio fx 9860G II SD ด้วยโปรแกรมภาษาซีบน AddIn ตอนที่ 9 โปรแกรมคำนวณหาจุดตัด (Intersection)

งานในด้านสำรวจเป็นงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับ Geometry บน plane เป็นส่วนใหญ่ ในบางครั้งอาจจะมีโจทย์ที่ต้องคำนวณหา จุดตัดระหว่างเส้นตรงสองเส้น หรือเส้นตรงกับวงกลม หรือวงกลมกับวงกลม โดยที่เส้นตรงอาจจะทราบค่าพิกัดหัวและท้าย หรือทราบค่าพิกัดเพียงหนึ่งจุดและค่าอะซิมัท ส่วนวงกลมนั้นจะต้องทราบค่าพิกัดจุดศูนย์กลางและรัศมี สูตรการคำนวณไม่ได้ยาก สมัยนี้โจทย์พวกนี้เราใช้โปรแกรมด้าน CAD เขียนแบบช่วยเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างที่ผมเคยบอกออกไปครับ ถ้าช่างสำรวจเรามีโอกาสได้ใช้สมองคิดด้าน geometry บ้างและสามารถใช้เครื่องคิดเลขเป็นตัวช่วย…

Continue Reading →

ติดปีกเครื่องคิดเลขเทพ Casio fx 9860G II SD ด้วยโปรแกรมภาษาซีบน AddIn ตอนที่ 2 โปรแกรมคำนวณค่าพิกัดจุดศูนย์กลางวงกลม (Circle Center Calc)

จุดศูนย์กลางวงกลมนั้นสำคัญไฉน ในงานสำรวจสำหรับการก่อสร้างเช่นเข็มเจาะ ในขั้นตอนแรกช่างสำรวจจะวางตำแหน่งจุดศูนย์กลางของเสาเข็ม จากนั้นจะวัด offset อย่างน้อยสามด้านตั้งฉากแล้วตอกเหล็กเช่นเหล็กข้ออ้อยลงไปเป็นหมาย ขั้นตอนต่อไปจะปักปลอกเหล็ก (Casing) ในชั้นดินอ่อนเพื่อกันดินทลายตัวลง ในขั้นตอนนี้ช่วงการปักปลอกเหล็กจะมีการวัดระยะจากหมายที่ offset ไว้เพื่อให้ปลอกเหล็กอยู่ในตำแหน่งทั้งทางราบและทางดิ่ง เมื่อปลอกเหล็กลงไปสุดแล้ว เพื่อความมั่นใจว่าได้ตำแหน่งที่ถูกต้องแล้ว จะสำรวจเพื่อเก็บค่าพิกัดคือจุดศูนย์กลางของปลอกเหล็ก แต่คำถามคือจะวัดค่าพิกัดจุดศูนย์กลางของปลอกเหล็กวงกลมได้อย่างไร ในทางปฏิบัติบางครั้งจะใช้ตะแกรงเหล็กปิดปากปลอกเหล็ก แล้วช่างสำรวจจะใช้ตลับเมตรวัดระยะครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางสองด้านตั้งฉากกันแล้วทำเครื่องหมายไว้บนกระดานไม้ จากนั้นจึงจะวัดค่าพิกัดโดยการตั้งเป้าปริซึม ถ้าใช้มินิปริซึม…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (แจกฟรี) – ตอนที่ 3

Geodesic Distance ผ่านไปแล้วสองโปรแกรม วันนี้มาว่ากันเรื่องโปรแกรมวัดระยะทางที่กำหนดค่าพิกัดให้สองจุด การวัดระยะทางไปตามผิวของทรงรีแนวที่สั้นที่สุดเรียกว่า Geodesic distance ใช้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ แลตติจูดและลองจิจูด ถ้าเป็นระบบกริดอยู่ในโซนเดียวกัน ศูนย์กำเนิดเดียวกันสามารถหาระยะทางได้จากสูตรง่ายๆ ที่ผมเรียนกันตอนมัธยมต้น (หลักสูตรสมัยใหม่ประถมก็เรียนแล้ว)  ระยะทาง = √((x2−x1)²+(y2−y1)²) มาดูโปรแกรม Geodesic distance เรียงจากบนลงมาไอคอนที่สาม…

Continue Reading →