พัฒนาแอพตัวที่ 2 SurveyStar COGO

กำเนิดคำว่า “COGO” คำว่า “COGO” เป็นคำย่อรัสพจน์ที่เกิดจากการนำเอาอักษรย่อของชื่อเฉพาะหรือวลีมารวมกัน โดยคำว่า CO คำแรกย่อมาจาก Coordinate คำที่สอง GO ย่อมาจาก Geometry ย้อนไปในราวปี 1950 – 1960 ศาสตราจารย์ชารล์ แอล มิลเลอร์…

Continue Reading →

เปิดตัวแอพแรก “Ezy Geo Pro” บนแอนดรอยด์

เปลี่ยนชื่อแอพ ในที่สุดผมก็เข็นครกดันเอาแอพรุ่นแรกสำหรับแอนดรอยด์ออกมาได้สำเร็จ “Ezy Geo Pro” เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2023 ที่ผ่านมาก ตัวแอพผ่านการเปลี่ยนชื่อมาแล้วหลายครั้งจาก “Thai Easy Geo” เป็น “A Ezy Geo” สุดท้ายเป็น “Ezy…

Continue Reading →

เพิ่มธีมมืดใน Surveyor Pocket Tools (มาสายดีกว่าไม่มา)

ตามสมัยนิยมก็ต้องมีธีมมีดว่ากันว่าช่วยกันประหยัดพลังงานของหน้าจอแบบ OLED และถนอมสายตาผู้ใช้ รวมทั้งใช้งานได้ดีในบริเวณที่มีแสงน้อย แต่ก็มีบางงานวิจัยกล่าวว่าการอ่านตัวหนังสือบนพื้นดำนานๆก็ทำให้สายตาล้าได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Surveyor Pocket Tools ก็เปิดทางเลือกให้ผู้ใช้สามารถปรับได้ว่าจะเปิดหรือปิดธีมมืด จาก PySide2 สู่ PySide6 ระบบการแสดงผลกราฟฟิค (GUI) จากเดิมที่ผมใช้ PySide2 อิมพลีเมนต์มาจาก Qt5…

Continue Reading →

อัพเดท : ปรับปรุงผลการคำนวณแปลงค่าพิกัดโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ให้ละเอียดถึงทศนิยมของมิลลิเมตรด้วย Surveyor Pocket Tools

จากรุ่นก่อนหน้านี้ของ Surveyor Pocket Tools นั้นสามารถแปลงค่าพิกัดในระบบ The First Construction Coordinate System ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ความละเอียดจะถูกลดทอนลง 3-4 มม. เมื่อใช้คำนวณ The Third Construction Coordinate System…

Continue Reading →

มหาเทพ HP Prime G2 ตอนโปรแกรมคำนวณโค้งดิ่ง (Vertical Curve)

บทความเครื่องคิดเลข HP Prime G2 นับเป็นบทความที่ 3 จากโค้งราบ (Horizontal Curve) มาสู่โค้งสไปรัล (Spiral Curve) และในบทความนี้จะมาปิดที่โค้งดิ่ง (Vertical Curve) สำหรับโค้งทั้งหลายเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับงานถนน, รถไฟ และรถไฟฟ้า โค้งดิ่ง (Vertical…

Continue Reading →

ปฐมฤกษ์โปรแกรมแรกบนเครื่องคิดเลขเทพเหนือเทพ HP Prime G2 (Horizontal Curve)

หนึ่งเดือนที่ผมจับเครื่องคิดเลขเอชพี ไพรม์ รุ่นจีทู ราคาแปดพันห้าร้อยบาทนับว่าเป็นเครื่องคิดเลขที่ราคาสูงที่สุดที่ผมเคยเป็นเจ้าของมา มีฟังก์ชั่นเยอะมาก วาดกราฟสามมิติได้ แต่ผมไม่ได้ใช้ จะไม่ขอพูดถึง สถาปัตยกรรมใช้ซีพียูแกน ARM Cortex A7 ความเร็ว 528 MHz มีแรม 256 MB และแฟลชรอม 512 MB หน้าจอแสดงผลขนาด…

Continue Reading →

รวมชุดโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจ 4 ชุดสำหรับเครื่องคิดเลข fx-9860GII, fx-9860GIII และ fx-9750GIII (พัฒนาด้วยภาษาซี) พร้อมคู่มือ

ผมเคยลงโปรแกรมพื้นฐานสำรวจชุดที่ 1 ด้วยภาษาซีสำหรับเครื่อง fx-9860GII SD ไปนานแล้ว ตอนนี้กลับมาแก้ไขบั๊กเล็กๆน้อยๆ และพัฒนาโปรแกรมเพิ่มโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 2, ชุดที่ 3 และชุดที่ 4 เพื่อให้เครื่อง fx-9860GII SD รุ่นเก่าที่ไม่มีภาษาไพทอนสามารถใช้งานได้เท่าเทียมกัน โปรแกรมที่พัฒนาด้วยภาษาซีจะมีดีกว่าไพทอนตรงที่กินหน่วยความจำน้อย เวลาป้อนค่าโปรแกรมสามารถเอาค่าตัวเลขไปเก็บไว้ในเมโมรีตัวอักษร A-Z…

Continue Reading →

(ฟรี)โปรแกรมภาษาไพทอนบนเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII fx-9860GIII และ fx-cg50 โปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 4 (COGO Selected Serie 4)

ตอนนี้มาถึงโปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 4 (COGO Selected Serie 4) สำหรับเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 PRIZM สามรุ่นที่รองรับภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน ได้ในขณะนี้ หาซื้อได้ในเมืองไทย ราคาย่อมเยาที่สุดคือ fx-9750GIII ที่ราคาประมาณสามพันบาท ถ้ามีงานการทำเป็นหลักเป็นแหล่งแล้วไม่น่าแพง บางทีเราซื้อโทรศัพท์มือถือได้ราคาเป็นเรือนหมื่นไม่คิดอะไรมาก…

Continue Reading →

(ฟรี)โปรแกรมภาษาไพทอนบนเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII fx-9860GIII และ fx-cg50 โปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 3 (COGO Selected Serie 3)

ตอนนี้มีเครื่องคิดเลขของคาสิโอสามรุ่นที่สามารถโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน (MicroPython) ได้คือ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 ทั้งสามรุ่นสามารถหาซื้อได้ไม่ยากนัก ผมซื้อมาทางออนไลน์สะดวกดี สนนราคาเรียงตามรุ่นตอนนี้อยู่ที่ สามพันบาท สี่พันห้าร้อยบาทและเจ็ดพันกว่าบาทตามลำดับ ผมแนะนำให้สำหรับคนที่เบี้ยน้อยหอยน้อยลงทุนกับ fx-9750GIII เพราะราคาไม่แพง คุ้มค่าเกินราคา ทั้งสามรุ่นสามารถโปรแกรมด้วยภาษาคาสิโอเบสิคและภาษาไพทอน แล้วแต่ความถนัด ความชอบ ถ้าโปรแกรมด้วยไพทอนจะสามารถเขียนโปรแกรมที่ยากๆหรือคณิตศาสตร์ซับซ้อนขึ้นมาได้ นี่เป็นเหตุผลสำคัญ…

Continue Reading →

(ฟรี)โปรแกรมภาษาไพทอนบนเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-9750GIII fx-9860GIII และ fx-cg50 โปรแกรมพื้นฐานงานสำรวจชุดที่ 2 (COGO Selected Serie 2)

ตอนนี้มีเครื่องคิดเลขของคาสิโอสามรุ่นที่สามารถโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนหรือไมโครไพทอน (MicroPython) ได้คือ fx-9750GIII, fx-9860GIII และ fx-cg50 ข้อดีของภาษาไพทอนนั้นคือง่าย ทรงพลัง แต่ข้อจำกัดของเครื่องคิดเลขคือหน่วยความจำที่มีมาน้อย ดังนั้นบนเครื่องคิดเลขจะมีไลบรารีที่นำมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานได้น้อย ต้องปรับกันพอสมควร ไม่มีไลบรารีเทพแบบ Numpy ที่จะมาใช้คำนวณเรื่องเมตริกซ์ (Matrix) ดังนั้นถ้าใช้เมตริกซ์ก็ต้องออกแรงเขียนโค้ดเองมากหน่อย แต่ยังมี Matplotlib ฉบับย่อที่พอกล้อมแกล้มได้เล็กน้อย…

Continue Reading →