- System Rescue Live CD เป็น Live CD ที่สร้างมาจาก Gentoo Linux (ดิสโทรตัวจริงของ Gentoo นี่ผมยังไม่เคยลองเลย) ส่วนระบบกราฟฟิคเปลี่ยนมาใช้ Xfce v.4 เป็น Desktop environment จากเดิมเคยใช้ JVM และ WMaker
- จากตอนที่ 1 เมื่อเราเขียน image พาร์ทิชั่นของฮาร์ดดิสค์เก็บไว้แล้ว เช่นพาร์ทิชั่นของวินโดส์ ผู้ใช้ linux อาจจะมีพาร์ทิชั่น Ubuntu, PCLos, Opensuse ตามแต่ distro ที่ใช้ ตอนที่แล้วผมแนะนำให้เขียนเก็บไว้ที่ external harddisk เนื่องจากสะดวกและราคาไม่แพง
- ส่วนแผ่นบู๊ตแนะนำให้ใช้ USB Flash drive แทน CD เพื่อลดความสิ้นเปลืองและรักษาสิ่งแวดล้อม ตอนนี้เราจะใช้ USB Flash drive ที่ติดตั้ง System Rescue LiveCD ไว้ทำการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนการบู๊ตจัดการต่อ External harddisk ผ่านทางช่อง USB ให้เรียบร้อย และไม่ลืมเสียบ USB Flash drive แผน่บู๊ตของเรา ขณะทำการเปิดเครื่องช่วงอ่าน BIOS ให้กดคีย์เช่น คีย์ F12 เพื่อเลือก Multiboot จะมีทางเลือกให้เช่นบู๊ตจาก internal harddisk, CD-Rom หรือ USB Flash drive ให้เลือก USB Flash drive
- เมื่อบู๊ตด้วย System Rescue Live CD เรียกสั้นๆว่า Sysrescd ถ้าไม่มีปัญหาอะไรจะมาหยุดอยู่ที่ prompt ของ command line คล้ายๆกับรูปด้านล่าง (เอามาจาก website Sysrescd)
- พิมพ์คำสั่ง startx เพื่อบู๊ตเข้าโหมดกราฟฟิคroot@sysresccd /root % startx
root@sysresccd /root % startx
- เมื่อบู๊ตเข้าไปในโหมดกราฟฟิคแล้ว เราจะสร้างไดเรคทอรีเพื่อจะเมาท์ (รายละเอียดการสร้างไดเรคทอรีและการเมาท์ ดูได้จากตอนที่ 1) เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็เมาท์ ก่อนจะทำการเมาท์ตรวจสอบ device ของฮาร์ดดิสค์ด้วย GParted ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ใช้คำสั่งดังต่อไปนี้
root@sysresccd /root % cd /mnt
root@sysresccd /mnt % mkdir pjdiskimages
root@sysresccd /mnt % ntfs-3g /dev/sdc2 /mnt/pjdiskimages
- เมื่อเมาท์แล้วไม่ลืมที่จะตรวจด้วยการเรียกใช้โปรแกรม Midnight commander ด้วยการคลิก Start > Misc > Midnight commander เมื่อเปิดโปรแกรมแล้ว browse ไปที่ /mnt/pjdiskimages ของผมเก็บ image ไว้ที่ /mnt/pjdiskimages/win_images/Acer4920G
- เมื่อเราสร้างไฟล์ image ตั้งชื่อตอนสร้าง win_im.gz โปรแกรม Partimage จะสร้าง extension ต่อให้อัตโนมัติ จะเห็นไฟล์ win_im.gz.000, win_im.gz.001,win_im.gz.002,……,win_im.gz.011 ไฟล์ชุดนี้เราจะมา restore เพื่อเขียน image ของวินโดส์ ขั้นตอนต่อไปเปิดโปรแกรม Partimage
root@sysresccd /mnt % partimage
- สำคัญมากการตั้งค่าหน้านี้ของ Partimage จากรูปด้านบนเลือก sda1 ก็คือ /dev/sda1 เป็นพาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสค์ของวินโดส์ ที่ Image file to create/restore เลือก image file ที่เขียนไว้ตอนที่ 1 คือ /mnt/pjdiskimages/win_images/Acer4920G/win_im.gz.000 สังเกตชื่อไฟล์ตอนสร้างในตอนที่ 1 เราตั้งชื่อ win_im.gz แต่การ restore ให้อ้างชื่อให้เต็มโดยมีจุด 000 ต่อท้ายด้วย และที่สำคัญอีกที่หนึ่งคือ Action to be done : เลือกบรรทัดที่สองคือ (*) Restore partition from an image file เมื่อเรียบร้อยกด F5 เพื่อไปหน้าต่อไป
- จากรูปด้านบนจะเห็น comment ผมเขียน password แสดงไว้ด้วยเผื่อกรณีที่เปลี่ยน password ในวินโดส์หลายครั้งจนลืม กด OK เพื่อไปหน้าต่อไป
- จากรูปด้านบนมี options ให้เลือกเช่นต้องการ Simulate แสดงการ restore ไฟล์ image แต่ไม่มีการเขียนจริง และเมื่อ Partimage ทำการเสร็จแล้ว (If finished successfully:) จะให้ปิดเครื่องไปเลยหรือปล่าว หรือต้องการรีบู๊ต กด F5 ผ่านไปใช้ค่าปริยาย
- โปรแกรม Partimage จะแสดงรายละเอียดของ image file ที่เราจะ restore พร้อมกับเตือนเล็กน้อยดังรูปด้านบน กด OK เพื่อไปต่อ
- สุดท้ายก่อนจะ restore ไฟล์ image โปรแกรม Partimage จะแสดงรายละเอียดของไฟล์ image ดังรูปข้างบน กด Ok เพื่อเริ่มการ restore ลงพาร์ทิชั่น sda1
- ขั้นตอนนี้โปรแกรม Partimage จะเริ่ม restore ไฟล์ของ image ที่เขียนไว้ที่ External harddisk (ในที่นี้ device คือ /dev/sdc2) จะ restore ลงไปยัง internal harddisk ของเครื่องโน๊ตบุ๊คของผมคือ /dev/sda1 ซึ่งเป็นพาร์ทิชั่นของวินโดส
- ตอน restore ไฟล์ image นี่ไม่ต้องรอนานเหมือนตอนเขียนไฟล์ เสร็จแล้วก็กด Ok เพื่อออกจากโปรแกรม Partimage ถ้าทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็ออกจากด้วยคำสั่ง
root@sysresccd /mnt % shutdown -r now
- เมื่อบู๊ตเครื่องลองเข้าวินโดส์ว่า OK หรือไม่ เท่าที่ผมใช้มานานแล้วไม่เคยพบว่า Restore แล้วจะเข้าวินโดส์ไม่ได้เลย ก็ขอให้โชคดีและสนุกกับการเขียน image file พาร์ทิชั่นฮาร์ดดิสค์เก็บไว้และ Restore image file