Dart&Flutter: ตกหลุมขวากกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบน iOS

จะถือว่าเป็นตอนที่สองต่อจาก Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟ ก็ได้ครับ หลังที่ผมปล้ำไลบรารี PROJ แบบเนทีฟตั้งแต่เขาซอร์สโค้ดภาษา C/C++ มาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm บนแอนดรอยด์ ไม่ง่ายครับประมาณเดินผ่านขวากหนามพอได้เลือดซิบๆ ตอนนี้มาถึงความโหดของการนำซอร์สโค้ดชุดเดียวกันมาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm เช่นเดียวกันแต่ไปรันบน iOS (เคอร์เนลของระบบปฏิบัติการของแอนดรอยด์และ iOS แตกต่างกัน) ถึงตอนนี้ตกไปในหลุมขวากเจ็บกว่าเดินผ่านขวากหนามที่แล้วมา

คอมไพล์และบิวท์ไลบรารี Sqlite3 และ PROJ

สคริปต์ที่สามารถคอมไพล์ไลบรารีบน iOS มีคนทำให้เสร็จสรรพแยกหมวดหมู่ไว้ดีมาก ผมไปเจอที่ stackexchange.com สามารถคอมไพล์ให้เป็น static library แยกย่อยไปตาม platform ดังนี้ iphoneos_arm64, iphonesimulator_x86_64, iphonesimulator_arm64, macos_x86_64, macos_arm64 ได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ผมดัดแปลงสคริปต์ไปเล็กน้อยเพื่อคอมไพล์และบิวท์เฉพาะ sqlite3 และ proj จากนั้นไปดาวน์โหลดเอาซอร์สโค้ดของ sqlite3 และ proj สร้างโฟลเดอร์ชื่อ “sqlite-amalgamation-master” และ “proj-9.1.0” จากนั้นรันสคริปต์

# for ALL platforms
export CMTOOLCHAIN=$HOME/dev/3rdParty/ios-cmake-master/ios.toolchain.cmake

# for iOS arm64 device
export PREFIX=$HOME/buildproj4/iphoneos_arm64
export SDKPATH=$(xcrun --sdk iphoneos --show-sdk-path)
export OS=OS64

cd sqlite-amalgamation-master
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DSQLITE_ENABLE_RTREE=ON \
    -DSQLITE_ENABLE_COLUMN_METADATA=ON \
    -DSQLITE_OMIT_DECLTYPE=OFF \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

cd proj-9.1.0
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DENABLE_TIFF=OFF -DENABLE_CURL=OFF \
    -DBUILD_PROJSYNC=OFF \
    -DSQLITE3_INCLUDE_DIR=$PREFIX/include \
    -DSQLITE3_LIBRARY=$PREFIX/lib/libsqlite3.a \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

# for iOS x86_64 simulator
export PREFIX=$HOME/buildproj4/iphonesimulator_x86_64
export SDKPATH=$(xcrun --sdk iphonesimulator --show-sdk-path)
export OS=SIMULATOR64

cd sqlite-amalgamation-master
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DSQLITE_ENABLE_RTREE=ON \
    -DSQLITE_ENABLE_COLUMN_METADATA=ON \
    -DSQLITE_OMIT_DECLTYPE=OFF \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

cd proj-9.1.0
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DENABLE_TIFF=OFF -DENABLE_CURL=OFF \
    -DBUILD_PROJSYNC=OFF \
    -DSQLITE3_INCLUDE_DIR=$PREFIX/include \
    -DSQLITE3_LIBRARY=$PREFIX/lib/libsqlite3.a \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..


# for iOS arm64 simulator
export PREFIX=$HOME/buildproj4/iphonesimulator_arm64
export SDKPATH=$(xcrun --sdk iphonesimulator --show-sdk-path)
export OS=SIMULATORARM64

cd sqlite-amalgamation-master
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DSQLITE_ENABLE_RTREE=ON \
    -DSQLITE_ENABLE_COLUMN_METADATA=ON \
    -DSQLITE_OMIT_DECLTYPE=OFF \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

cd proj-9.1.0
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DENABLE_TIFF=OFF -DENABLE_CURL=OFF \
    -DBUILD_PROJSYNC=OFF \
    -DSQLITE3_INCLUDE_DIR=$PREFIX/include \
    -DSQLITE3_LIBRARY=$PREFIX/lib/libsqlite3.a \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

# for Mac Catalyst x86_64
export PREFIX=$HOME/buildproj4/macos_x86_64
export SDKPATH=$(xcrun --sdk macosx --show-sdk-path)
export OS=MAC_CATALYST

cd sqlite-amalgamation-master
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DSQLITE_ENABLE_RTREE=ON \
    -DSQLITE_ENABLE_COLUMN_METADATA=ON \
    -DSQLITE_OMIT_DECLTYPE=OFF \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

cd proj-9.1.0
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DENABLE_TIFF=OFF -DENABLE_CURL=OFF \
    -DBUILD_PROJSYNC=OFF \
    -DSQLITE3_INCLUDE_DIR=$PREFIX/include \
    -DSQLITE3_LIBRARY=$PREFIX/lib/libsqlite3.a \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

# for Mac Catalyst arm64
export PREFIX=$HOME/buildproj4/macos_arm64
export SDKPATH=$(xcrun --sdk macosx --show-sdk-path)
export OS=MAC_CATALYST_ARM64

cd sqlite-amalgamation-master
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DSQLITE_ENABLE_RTREE=ON \
    -DSQLITE_ENABLE_COLUMN_METADATA=ON \
    -DSQLITE_OMIT_DECLTYPE=OFF \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

cd proj-9.1.0
rm -r build_$OS; mkdir build_$OS; cd build_$OS
cmake -DCMAKE_TOOLCHAIN_FILE=$CMTOOLCHAIN \
    -DPLATFORM=$OS \
    -DENABLE_BITCODE=OFF \
    -DBUILD_SHARED_LIBS=OFF \
    -DCMAKE_INSTALL_PREFIX=$PREFIX \
    -DENABLE_TIFF=OFF -DENABLE_CURL=OFF \
    -DBUILD_PROJSYNC=OFF \
    -DSQLITE3_INCLUDE_DIR=$PREFIX/include \
    -DSQLITE3_LIBRARY=$PREFIX/lib/libsqlite3.a \
    -DENABLE_VISIBILITY=ON \    
    ..
cmake --build .
cmake --build . --target install
cd ..
cd ..

ความยากมาอยู่ที่การนำไลบรารีมา config ให้ XCode รู้จัก เท้าความนิดหนึ่งแอพที่เราพัฒนาบน Flutter ตัวฟลัตเตอร์จะสร้างไฟล์และ config ให้เพื่อ XCode จะได้นำไปคอมไพล์และบิวท์ต่อให้เป็นแอพ สุดท้ายสามารถนำไปขึ้นบน App store ของแอปเปิ้ลได้ เทียบกับฝั่งแอนดรอยด์ก็คล้ายๆกันคือฟลัตเตอร์สร้างไฟล์และคอนฟิกให้ Android studio นำไปคอมไพล์และบิวท์เป็นแอพต่อเช่นเดียวกัน

เปลี่ยนชื่อแอพจาก “Thai Easy Geo” เป็น “A Ezy Geo”

ความตั้งใจแรกจะทำแอพให้ใช้เฉพาะในประเทศไทย แต่มาลองคิดดูน่าจะขยายไปในย่านภูมิภาคนี้ เพียงแต่อาจจะยังไม่ได้ support เรื่องภาษาท้องถิ่น ตอนนี้มีเฉพาะภาษาไทยกับอังกฤษเท่านั้น

สร้าง FAT ไลบรารี

ผมชอบไอเดียของฝั่งแอปเปิ้ลคือสามารถคอมไพล์ไลบรารีให้แต่ละสถาปัตยกรรมมารวมอยู่ในไฟล์เดียวกันเรียกว่า FAT library (ผมแปลเองว่าอ้วน ซึ่งมันสื่อความหมายตรงดี) ทางเลือกอีกอย่างของ iOS คือสามารถเอาไลบรารีไปใช้ได้แบบ static หรือจะทำเป็นเฟรมเวิร์ค ก็แล้วแต่ความสะดวก ผมเลือกเอาแบบ static แบบแรกเพราะคิดว่าง่ายกว่า ซับซ้อนน้อยกว่าแบบเฟรมเวิร์ค ใช้สคริปต์คำสั่ง lipo ในการสร้าง ผมเอาเฉพาะไลบรารีที่จะใช้กับอีมูเลเตอร์ คือ iphonesimulator_x86_64 และที่จะใช้กับเครื่องจริงคือ iphoneos_arm64 สคริปต์จะจับรวมสองไลบรารีที่ต่างแพล็ตฟอร์มมาอยู่ในไฟล์เดียวกัน

lipo -create iphonesimulator_x86_64/lib/libproj.a iphoneos_arm64/lib/libproj.a -output combined/lib/libproj.a
lipo -create iphonesimulator_x86_64/lib/libsqlite3.a iphoneos_arm64/lib/libsqlite3.a -output combined/lib/libsqlite3.a

ที่ผมไม่กล่าวถึงไม่ได้ ถ้าเอาไลบรารีแบบเนทีฟมาใช้กับฟลัตเตอร์ กูรูหลายๆท่านว่าต้องทำเป็น plug-in ถึงจะใช้งานได้ ผมจะสร้างปลั๊กอินตัวนี้ชื่อว่า “proj4” (อาจจะเปลี่ยนชื่อภายหลังได้) ช่วงพัฒนาปลั๊กอินนี้ เราสามารถเรียกใช้งานทดสอบผ่าน example ที่ฟลัตเตอร์บังคับสร้างมา เพื่อดูว่าปลั๊กอินเราใช้ได้ไหม เราจะนำ example นี้ไปรันบนฝั่งแอนดรอยด์และฝั่ง iOS ถ้าใช้ได้ทั้งสองฝั่งตัว example นี้ก็พร้อมจะเป็นตัวอย่างไปกับปลั๊กอิน รูปต่อไปแสดงโครงสร้างโฟลเดอร์ “proj4” หลังจากสร้าง project ชื่อ “a_ezy_geo” ให้ cd เข้าในชื่อโครงการ และใช้คำสั่งในการสร้างปลั๊กอินดังนี้

flutter create --org com.example --template=plugin --platforms=android,ios -i swift proj4
แสดงการวางไลบรารี libproj.a และ libsqlite3.a ในโฟลเดอร์ของปลั๊กอิน

เบื้องต้นผมจะใช้ example ในปลั๊กอินดูว่าไลบรารีโหลดขึ้นมาบน iOS แล้วหรือยัง ผมติดตัวนี้ประมาณเกือบสองเดือนครับ ผมสามารถคอมไพล์เป็น libsqlite3.a และ libproj.a แต่เมื่อนำไปรันใน example แอพจะ error ฟ้องว่าหา symbol ของ PROJ ไม่เจอ (คือหาฟังก์ชั่น export ของ PROJ ไม่เจอ) มาดูเส้นทางที่ผมพยายามทำดังต่อไปนี้

1.แก้ไขไฟล์สวิฟท์สร้างดัมมี่ฟังก์ชัน

แก้ไขไฟล์ swift ชื่อ SwiftProj4Plugin.swift ที่ฟลัตเตอร์สร้างมาให้เพื่อเป็น dummy ให้ XCode อย่าได้ strip ฟังก์ชั่นของ PROJ ผมใส่ดัมมี่ฟังก์ชั่นไปให้สวิฟท์สองฟังก์ชั่น อันแรกให้เรียกใช้ proj_context_create() และอันที่สองเรียกใช้ไลบรารี sqlite3 คือฟังก์ชั่น sqlite3_memory_used() จากนั้นก๊อปปี้ไฟล์หัว proj.h มาไว้ที่นี่

import Flutter
import UIKit

public class SwiftProj4Plugin: NSObject, FlutterPlugin {
  public static func register(with registrar: FlutterPluginRegistrar) {
    let channel = FlutterMethodChannel(name: "proj4", binaryMessenger: registrar.messenger())
    let instance = SwiftProj4Plugin()
    registrar.addMethodCallDelegate(instance, channel: channel)
  }

  public func handle(_ call: FlutterMethodCall, result: @escaping FlutterResult) {
    result("iOS " + UIDevice.current.systemVersion)
  }
    public func dummyMethodToEnforceBundling() {
      // This will never be executed
      proj_context_create();
    }
    public func dummyMethodToEnforceBundling2() {
      //This will never be executed
      sqlite3_memory_used();
    }
}
โค้ดของ header สำหรับปลั๊กอินและแสดงโค้ด Proj4Plugin.h

2.แก้ไขไฟล์ podspec

แก้ไขไฟล์ proj4.podspec ในโฟลเดอร์ปลั๊กอิน “proj4/ios/” ตัวพอดนี้ประมาณว่าใช้เพื่อติดตั้ง Library ต่างๆ หรือ Framework ให้ XCode เพื่อให้คอนฟิกได้ง่ายๆ กูรูหลายท่านที่ผมไปอ่านใน stackoverflows.com แนะนำตรงกันคือแก้สามบรรทัด ในที่นี้คือบรรทัดที่ 14, 15 และ 16

Pod::Spec.new do |s|
  s.name             = 'proj4'
  s.version          = '1.0.0'
  s.summary          = 'PROJ.4 is a catographic projections library.'
  s.description      = <<-DESC
  PROJ.4 is in active use by  GRASS GIS,  MapServer,  PostGIS,  Thuban,  OGDI,  Mapnik,  TopoCad, and  OGRCoordinateTransformation as well as various other projects.\n\nSince work started on the PROJ.4.4.x series of releases, various bug fixes have been incorporated, and the build system has been overhauled to use autoconf/libtool. Support has also been added for 3 and 7 parameter datum shifts, the PJ* structure now also carries datum information and PJ* can be considered a full coordinate system (geographic coordinate systems are also now supported with the +proj=latlong pseudo-projection). The new cs2cs program performs a similar function to the proj program, but transforming from any one coordinate system to another. The new pj_transform() is used to access the extended coordinate system to coordinate system transformation with datum shifting. Work is underway to improve ThreadSafety.\n\nA mapping file (epsg) has also been introduced mapping most EPSG ( http://www.epsg.org/) coordinate systems to PROJ.4 format.\n\nAs of May 2008 PROJ.4 has become part of the  MetaCRS project, a confederation of coordinate systems related projects and it is hoped MetaCRS will enter incubation as an  OSGeo project.
                       DESC
  s.homepage         = 'http://example.com'
  s.license          = { :file => '../LICENSE' }
  s.author           = { 'Your Company' => 'email@example.com' }
  s.source           = { :path => '.' }
  s.public_header_files = 'Classes**/*.h'
  s.source_files = 'Classes/**/*'
  s.static_framework = true
  s.ios.vendored_libraries = 'libs/libproj.a', 'libs/libsqlite3.a'
  s.xcconfig = { 
    'OTHER_LDFLAGS' => '-lproj -lsqlite3 -lc++ -lstdc++ ', # ต้องมี -lc++ -lstdc++
  }
  s.dependency  'Flutter'
  s.platform = :ios, '12.0'
  s.pod_target_xcconfig = { 'DEFINES_MODULE' => 'YES', 'EXCLUDED_ARCHS[sdk=iphonesimulator*]' => 'i386' }
  s.swift_version = '5.0'
end

จากนั้นที่ termial ของฟลัตเตอร์ให้ cd ไปอยู่ที่โฟลเดอร์ “plugin_name/example/ios” รันคำสั่ง pod install เพื่อให้ XCode ได้อัพเดท

สาเหตุ XCode Strip ฟังก์ชั่น Export

ผลการแก้ไขไฟล์ proj4.pdspec นี้ทำให้ XCode เห็นไลบรารีของเราได้ แต่นำไปใช้งานยังไม่ได้ ยัง error ยังเหมือนเดิม จากที่ค้นคว้าพบว่า XCode มีการ Strip คือการหั่นออกหรือเอาออก เมื่อเอาฟังก์ชั่น export เราออกจากไลบรารี ตอนไปเรียกใช้จากแอพแล้วมันหาไม่เจอ เหตุผลที่ต้องมีการ strip เพื่อให้แอพมีขนาดเล็กเบาบางไม่บวม ผู้ใช้เวลาดาวน์โหลดจากสโตร์ก็ใช้เวลาน้อยไม่หงุดหงิด ผมทราบสาเหตุนี้แล้ว ผมมุ่งเจาะเป้าว่าทำยังไงให้ XCode ไม่ strip ผลจากการคอมไพล์และบิวท์ ผลที่ได้คือยัง error เหมือนเดิม

3. แก้ Strip Style

ค้นคว้าเพิ่มเติมจะต้องมีการไปแก้คอนฟิกในตัว XCode จากที่ไม่คิดว่าจะต้องไปแตะจับต้อง XCode ตอนนี้เลี่ยงไม่ได้แล้วละ ใช้ XCode เปิดไฟล์ จากไฟล์ที่ฟลัตเตอร์สร้างให้คือ “proj4/ios/example/runner.xcworkspace” เปิดไปแล้วให้ไปที่ Runners เลือก Targets เป็น Runner เลือก Build Settings เลือก Strip syle จาก “All-Symbols” เป็น “Non-Global Symbols

แก้ไข Build settings บน XCode

ผลการคอมไพล์และบิวท์ ผลที่ได้คือยัง error เหมือนเดิม

4.ใส่ Syntax ทุกฟังก์ชั่น Export

ค้นคว้าเพิ่มเติมตอนนี้หลงเข้าไปในกลุ่มผู้พัฒนาฟลัตเตอร์ มีบางท่านแนะนำให้ตามไปแก้ไขไฟล์โค้ด ในเคสของผม คือแก้ไขโค้ดของ PROJ โดนการนำ syntax extern “C” attribute((visibility(“default”))) attribute((used)) เอาไปใส่หน้าฟังก์ชั่น export ในไฟล์ .cpp ทุกไฟล์

เนื่องจากฟังก์ชั่น export ของไลบรารี PROJ มีมากมายหลายไฟล์ ผมต้องไล่ไปทีละไฟล์ โดยการเปิดไฟล์ proj.h ดูว่ามีฟังก์ชั่นไหนบ้าง แล้วเราไล่หาว่าฟังก์ชั่นนี้อยู่ในไฟล์ใดบ้าง มาถึงตอนนี้ครับ ผมได้ตกไปหลุมขวากที่ด้านล่างที่มีไม้เสี้ยมแหลมๆปักรอเป็นที่เรียบร้อย ผมแก้ไขไฟล์ โดยอาศัยแรงงานตัวเองเป็นหลัก ประมาณว่าวิ่งควายประมาณนั้น โดยที่ไม่รู้ในตอนแรกว่าจะได้ผลไหม ลองดูตัวอย่างบางส่วนของไฟล์ “4D_api.cpp” ที่ใส่ syntax extern “C” attribute((visibility(“default”))) attribute((used)) ทุกฟังก์ชั่นที่จะ export ไปใช้

...
/* Geodesic distance (in meter) between two points with angular 2D coordinates */
extern "C" __attribute__((visibility("default"))) __attribute__((used))
double proj_lp_dist (const PJ *P, PJ_COORD a, PJ_COORD b) {
    double s12, azi1, azi2;
    /* Note: the geodesic code takes arguments in degrees */
    if( !P->geod ) {
        return HUGE_VAL;
    }
    geod_inverse (P->geod,
        PJ_TODEG(a.lpz.phi), PJ_TODEG(a.lpz.lam),
        PJ_TODEG(b.lpz.phi), PJ_TODEG(b.lpz.lam),
        &s12, &azi1, &azi2
    );
    return s12;
}

/* The geodesic distance AND the vertical offset */
extern "C" __attribute__((visibility("default"))) __attribute__((used))
double proj_lpz_dist (const PJ *P, PJ_COORD a, PJ_COORD b) {
    if (HUGE_VAL==a.lpz.lam || HUGE_VAL==b.lpz.lam)
        return HUGE_VAL;
    return hypot (proj_lp_dist (P, a, b), a.lpz.z - b.lpz.z);
}

/* Euclidean distance between two points with linear 2D coordinates */
extern "C" __attribute__((visibility("default"))) __attribute__((used))
double proj_xy_dist (PJ_COORD a, PJ_COORD b) {
    return hypot (a.xy.x - b.xy.x, a.xy.y - b.xy.y);
}
...

จากนั้นใช้สคริปต์ทำการคอมไพล์และบิวท์ไลบรารี PROJ อีกครั้ง ให้ XCode ทำการบิวท์แอพ แล้วใช้คำสั่ง nm ตรวจสอบผลที่ได้คือมีฟังก์ชั่น export เรียงหน้าสลอนกันมาครบ

nm -g /Volumes/datafast/codes/a_ezy_geo/build/ios/iphoneos/Runner.app/Runner

เมื่อทำการบิวท์แอพปรากฎว่าใช้งานไลบรารี PROJ ได้แล้วบน iOS จากวันนั้นถึงวันนี้ใช้เวลาเกือบสองเดือน ที่ผมตั้งใจจะเอาแอพขึ้นไปบน iOS เพราะว่ายังมีกลุ่มคนใช้ iOS ค่อนข้างหนาตา ดูจากสถิติต่างประเทศพบว่า 69.74% เป็นผู้ใช้แอนดรอยด์ 25.49% เป็นผู้ใช้ iOS ก็ไม่ได้น้อยเลย

แกลเลอรี่แอพ A Ezy Geo บน iOS

เป็นรูปที่แคปมาจากหน้าจออีมูเลเตอร์ iphone 11 บนแมคโอเอส

ไปกันให้สุดซอย

จากวันที่ตัดสินใจมาใช้ฟลัตเตอร์ทำแอพโดยที่ต้องเรียนรู้ภาษาดาร์ทตั้งแต่เริ่มต้น และต้องศึกษาฟลัตเตอร์เพื่อให้สามารถขึ้น UI ได้ ชอบภาษาดาร์ทแต่มากระอักกับนรกวงเล็บของฟลัตเตอร์ ที่ตัดสินใจมาใช้ดาร์ทและฟลัตเตอร์เพราะคิดว่าไลบรารี PROJ ที่มีคนทำอยู่แล้วนั้นใช้ได้ดี แต่กลับตาลปัตร เลยกลายมาเป็นว่าต้องมาศึกษาการสร้างปลั๊กอินแล้วก็มาทรหดอดทนกับการนำซอร์สโค้ดของไลบรารี PROJ มาคอมไพล์และบิวท์ให้สามารถใช้ได้ทั้งบนแอนดรอยด์และ iOS อย่างที่เห็น ก็ได้ความมันส์ความโหดมาแบบไม่ตั้งใจ

ความตั้งใจอีกอย่างคือจะศึกษาภาษาดาร์ทและฟลัตเตอร์ให้กระจ่างกว่านี้ การทำแอพของผมส่วนใหญ่ใช้การ copy & paste เฉพาะในกรณีเป็น UI แต่จะเขียนโค้ดภาษาดาร์ทเองช่วงการคำนวณ การ copy & paste ถือว่าเป็นของต้องห้ามสำหรับคนที่ต้องการศึกษาให้ถ่องแท้ แต่ไม่มีทางเลือกตอนนี้ผมเขียนแอพไปศึกษาภาษาไปควบคู่ด้วย ด้วยอายุอานามของผมที่มากก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด สำหรับ learning curve ของดาร์ทและฟลัตเตอร์บอกได้ว่าชันมากทีเดียว แต่ก็คุ้มสำหรับสำหรับน้องๆที่คิดจะศึกษา เครื่องไม้เครื่องมือของฟลัตเตอร์มีให้เลือกใช้จุใจมาก จนเลือกไม่ถูกเลยทีเดียว โปรดติดตามตอนต่อไปครับ

1 thought on “Dart&Flutter: ตกหลุมขวากกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบน iOS”

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *