Surveyor Pocket Tools – ทดสอบโปรแกรมการแปลงพิกัดบน State Plane Coordinate System (SPC)

ในฐานะช่างสำรวจในย่าน AEC บ้านเรา ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบพิกัดที่ส่วนใหญ่ใช้เส้นโครงแผนที่ Transverse Mercator กันส่วนใหญ่ แต่มาเลเซียนั้นต่างออกไปเนื่องจากมีพื้นที่ที่ยาวเฉียงๆ ทั้งสองพื้นที่คั่นด้วยทะเลจีนใต้ พื้นที่แรกอยู่บนเกาะบอร์เนียวอีกพื้นที่หนึ่งติดกับประเทศไทย ทางมาเลเซียใช้เส้นโครงแผนที่ Oblique Mercator ซึ่งเป็นเส้นโครงแผนที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าอันอื่น

เรามาลองไปทัศนศึกษาที่หรัฐอเมริกาดูกัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ มีระบบพิกัดและเส้นโครงแผนที่ที่หลากหลายมาก ในฐานะช่างสำรวจพอจะเป็นความรู้ประดับบ่ากันไว้นิดๆหน่อยๆ ไม่ถือว่าเหลือบ่ากว่าแรงจนต้องแบกหาม มาทัศนาผ่านทางโปรแกรมแปลงพิกัด Transform Coordinate ที่อยู่ในชุด Surveyor Pocket Tools

State Plane Coordinate System (SPC)

  • คือกลุ่มระบบพิกัดของสหรัฐอเมริกาที่รวบรวมระบบพิกัดที่ใช้ในแต่ละพื้นที่หรือรัฐทั้งหมด 124 โซน โดยที่รัฐที่มีพื้นที่ติดกันจำนวน 110 โซน และอื่นๆที่เหลือได้แกเช่นอลาสก้า ฮาวาย เปอร์โตริโก้และหมู่เกาะยูเอสเวอร์จิน
  • State Plane Coordinate System (SPC) ปัจจุบันคือ North America Datum 1983 (NAD83) ใช้ทรงรี GRS80 ต่างจากของเดิมคือ NAD27 ที่ใช้ทรงรี Clark 1866

AcroRd32_2017-03-22_08-20-10.jpg

  • เส้นโครงแผนที่ (Map projection) ใช้อยู่ 3 ประเภทคือ
    1. Transverse Mercator (TM) สามารถรักษา scale factor คงที่ได้ในแนวแกนเหนือ-ใต้ จึงนิยมใช้สำหรับพื้นที่ที่ยาวจากเหนือไปใต้
    2. Lambert Conformal Conic (LCC) เนื่องจากสามารถรักษา scale factor ให้คงที่ได้ในแนวแกนตะวันออก-ตะวันตก จึงนิยมใช้กับพื้นที่มีความยาวจากตะวันออกไปตะวันตก
    3. Oblique Mercator (OM) นิยมใช้กับพื้นที่ที่ยาวเฉียงแบบทะแยง ใช้อยู่รัฐเดียวคืออลาสก้า

โปรแกรมแปลงพิกัด Transform Coordinate

  • ถ้าจะดาวน์โหลดก็ดูที่ช่องยาวๆด้านขวาของ blog ในขณะที่เขียนบทความนี้ เป็นรุ่น 0.66 build 501 ดาวน์โหลดแล้วก็ติดตั้ง เมื่อคลิกโปรแกรมและรันจะเห็นไดอะล๊อกหน้าแรกรวมโปรแกรมชุดของ Surveyor Pocket Tools ตามรูปด้านล่างที่ไฮไลต์ไว้คือ “Transform Coordinates” 

Surveyor Pocket Tools_2017-03-21_20-45-41

  • มาดูหน้าโปรแกรม ผม update ข้างในไปมาก ทั้งๆที่ตอนแรกตั้งใจจะเขียนให้ใช้งานได้เฉพาะเส้นโครงแผนที่ Transverse Mercator ไปๆมาๆ ก็ไปไกลเกินกว่าที่ตั้งใจไว้ตอนแรก หน้าตาก็เรียบง่ายแต่เพิ่มเครื่องมือจัดเก็บค่าพิกัดและเรียกใช้ค่าพิกัด รวมถึงเครื่องมือปักหมุดบน google maps & google earth

ทดสอบการแปลงพิกัดบนเส้นโครงแผนที่ Oblique Mercator (OM)

  • จะทดสอบการแปลงพิกัดจากค่าแลตติจูดและลองจิจูด จากทรงรี GRS80 ไปยังระบบพิกัดฉาก NAD83 สำหรับ Alaska zone 1 นี้ใช้ Oblique Mercator ซึ่งพารามิเตอร์ของเส้นโครงแผนที่ OM ตามตารางด้านล่าง
    •  Alazka zone 1 – NAD83
    • Scale factor at the projection’s center = 0.9999
    • Longitude of the projection’s center = 133º 40′ W
    • Latitude of the projection’s center = 57º 0′ N
    • Azimuth at the projection’s center = 323º07’48.3685″
    • Angle from Rectified to Skew Grid =  323º07’48.3685″
    • False Easting (meters) = 5000000
    • False Northing (meters) = -5000000

AcroRd32_2017-03-22_15-44-02

ข้อมูลทดสอบโปรแกรม

  • ข้อมูลทดสอบผมจะใช้หมุดของทางการ ที่สะดวกมากสามารถจะดูหมุดที่ไหนก็ได้ ข้อมูลแต่ละหมุดจะเรียกว่า data sheet เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของ NGS ตาม ลิ๊งค์ นี้ครับ
  • อันดับแรกเลือกรัฐก่อน เลือก “Alaska” ต่อจากนั้นเลือก county ให้เลือก “AK|103|KETCHIKAN GATEWAY BOROUGH” จากนั้นคลิกที่ปุ่ม “submit” แล้วจะเห็นหมุดถูกลิสต์ออกมามากพอสมควร ลองเรียงหมุดดูตาม latitude ผมคลิกเลือก “Latitude” แล้วคลิกที่ปุ่ม “Re-Sort-By” ตอนนี้จะเลือกหมุดที่มีหมายเลข PID = UV5754 เลือกแล้วคลิกที่ปุ่ม “Get data sheets” จะได้ data sheet ออกมา
  • ลองดู data sheet  ของหมุด  UV5754 ด้านล่าง

chrome_2017-03-22_08-52-04

  • ที่ผมลากสี่เหลี่ยมไว้ด้านบนคือค่าพิกัดในระบบ geographic ของ NAD83 จะใช้ค่านี้มาทดสอบ เลือกระบบพิกัดและป้อนข้อมูลเข้าไปดังรูป Latitude = 55° 6′ 45.20173″N Longitude = 131° 43′ 58.97516″W

Surveyor Pocket Tools_2017-03-22_09-02-26

  • ด้านขวาปลายทางเลือก Group = “Projected Coordinate System” เลือก Datum = “NAD83 (National Spatial Reference System 2007)” จากนั้นเลือก System = “NAD83(NSRS2007) / Alaska zone 1” พร้อมแล้วคลิกลูกศรขวาเพื่อทำคำนวณ

Surveyor Pocket Tools_2017-03-22_09-07-59

  • จะได้ค่า North = 366701.8435, East = 942069.8596, Grid scale factor = 0.9999085667,  Convergence = 1°36’31.76352″ ซึ่งผลลัพธ์ตรงกันกับ data sheet

ทดสอบการแปลงพิกัดบน Lambert Conformal Conic (LCC)

  • สำหรับเส้นโครงแผนที่ Lambert Conformal Conic (LCC) ส่วนใหญ่จะเป็นแบบรอยตัดสองรอย (secant) บนทรงรี มากกว่าจะเป็นแบบสัมผัส ดังนั้นจะมี Latitude of parallel อยู่ตรงสองรอยตัดด้านบนและด้านล่าง สำหรับข้อมูลทดสอบจะเลือกรัฐ “Oregon” โซนด้านเหนือ พารามิเตอร์สำหรับการแปลงพิกัดมีดังนี้
    • Oregon North Zone (Designation 3601)
      • Oregon State Plane North – NAD 1983
      • Lambert Conformal Conic Two Standard Parallel Projection (Secant)
      • Central Meridian: -120° 30′ W
      • Latitude of Origin: 43° 40′ N
      • Standard Parallel (South): 44° 20′ N
      • Standard Parallel (North): 46° N
      • False Northing: 0.000 m
      • False Easting: 2 500 000.000 m

ข้อมูลทดสอบ

  • ข้อมูลทดสอบจะเข้าไปที่เว็บไซต์ของ NGS แต่ครั้งนี้จะเข้าไปใช้ interactive map แล้วค้นหาชื่อหมุด ตาม ลิ๊งค์ นี้ ด้านซ้ายมือจะมีระบบค้นหาเลือกค้นหาด้วย “PID” ป้อนชื่อหมุด “AJ8179” เมื่อเจอแล้วคลิกที่หมุดในแผนที่แล้ว แล้วคลิก “data sheet” จะได้รายละเอียดมาดังรูป

chrome_2017-03-22_17-16-10

  • ป้อนค่าพิกัดฉากของหมุด AJ8179 เข้าไปดังรูป คลิกที่รูปลูกศรขวา เพื่อจะแปลงพิกัดจาก LCC ไป geographic แต่ในขณะเดียวกันโปรแกรมจะคำนวณค่า grid scale factor และ convergence มาให้ด้วย

Surveyor Pocket Tools_2017-03-22_17-15-44

  • ได้ผลลัพธ์ดังนี้ ตรวจดูกับ data sheet จะได้ค่า grid scale factor และ convergence ตรงกัน ส่วนค่าพิกัดค่าลองจิจูดตรงกัน แต่ค่าแลตติจูดต่างกันเล็กน้อยมากที่ทศนิยมที่ 5

Surveyor Pocket Tools_2017-03-22_17-29-22

ข้อจำกัดของโปรแกรม

  • ในตอนนี้ยังไม่สนับสนุนหน่วยฟุต
  • สนับสนุนการคำนวณ grid scale factor และ convergence ให้เฉพาะเส้นโครงแผนที่ Transverse Mercator, Lambert Conformal และ Oblique Mercator ส่วนเส้นโครงแผนที่อื่นๆคำนวณให้เฉพาะการแปลงค่าพิกัดเท่านั้น เนื่องจากระบบพิกัดในโลกนี้หลากหลายมากมาย ทำให้การทดสอบข้อมูลต้องทยอยทำไปเรื่อยๆ
  • ยังไม่ได้ทดสอบข้อมูลระบบพิกัดของยุโรป European Terrestrial Reference System (ETRS)
  • มาถึงตอนนี้คงพอหอมปากหอมคอ สังเกตว่าผมไม่ได้ทดสอบเส้นโครงแผนที่ TM เนื่องจากบ้านเราใช้กันอยู่และคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว พบกันตอนต่อไปครับ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *