เมื่อคลื่นลมแปรปรวน กับการใช้ Emlid RS2 บนความสูงโพล 15 เมตร

พื้นฐานดั้งเดิมของผมคือทำงานมารีนมาโดยตลอด สลับกับการทำงานบนบกบ้างเป็นบางคราว ครั้งนี้ไปทำงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่บังคลาเทศประมาณ 5 ปี ก็ได้หวนกลับสู่งานมารีนอีกคราคืองานก่อสร้างทางทะเลเป็นงานก่อสร้างเขื่อนกับคลื่นและทราย เป็นงานระดับเมกะโปรเจคโครงการหนึ่งทีเดียว เดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นเดือนแห่งฤดูมรสุมที่คลื่นลมแรงจัด เนื่องจากเรือสำรวจเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกินน้ำประมาณ 2.8 เมตร สภาพเรือเป็นเรือทำงาน (working boat) โครงสร้างเหล็กทั้งลำมาดัดแปลงเป็นเรือสำรวจ พอคลื่นลมแรงก็เป็นปัญหาไม่สามารถออกทำงานได้ด้วยอันตรายจากคลื่นสูงอาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ สำหรับบทความนี้ก็ขอเล่าประสบการณ์เซอร์เวย์ ที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นงานมารีน สำหรับงานสเป็คในงานสำรวจทางทะเลนั้นทั่วๆไปจะยอมให้ค่าความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่างานบก เนื่องจากลักษณะส่วนใหญ่เป็นงานใต้น้ำ…

Continue Reading →

ไปกันให้สุดซอยกับ Dart & Flutter

ภาษาดาร์ท (Dart) ดาร์ท (Dart) เป็นภาษาที่อายุอานามประมาณบวกลบ 10 ปีได้ถือว่าเป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่ใหม่มาก ที่ประมวลเอาข้อดีของโปรแกรมรุ่นเก่าทั้งหลายทั้งมวล ส่วนฟลัตเตอร์ (Flutter) คือเฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาโปรแกรมแบบ cross platform ของกูเกิ้ลที่เขียนโค้ดครั้งเดียวสามารถนำไปรันได้ทั้ง วินโดส์ แมคโอเอส ลีนุกซ์ รวมทั้ง iOS และแอนดรอยด์ด้วย…

Continue Reading →

ประยุกต์ใช้ TGM2017 กับ Emlid RS2 บนแอพ SW Maps

คู่ขวัญแห่งโลกที่สาม Emlid RS2 คืออุปกรณ์ GNSS ขวัญใจโลกที่สาม ส่วน SW Maps คือแอพทางด้าน GIS & Survey ที่ฟรีและเป็นขวัญใจโลกที่สามเช่นเดียวกัน พัฒนาโดยโปรแกรมเมอร์ชาวเนปาล ชื่อเสียงของ SW Maps ในแวดวง GNSS…

Continue Reading →

การต่อ Emlid RS2 แบบบลูทูธเข้ากับ Hypack

ขวัญใจโลกที่สาม สำหรับ Emlid RS2 ที่ทางทีมงานผมได้สั่งเข้ามาทดลองใช้งานก่อนสองชุดเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ RTK มีราคาถูกมาก ประมาณชุดละแปดหมื่นบาท ขอยืมคำพูดคุณปฐมพงศ์ สทล.12 มาใช้ว่า Emlid คือ “ขวัญใจของโลกที่สาม” ด้วยราคาที่ถูก ประสิทธิภาพพอตัว รุ่นนี้นอกจากวัด RTK ได้ปกติแล้วยังสามารถรังวัด Static…

Continue Reading →

เมื่อลมพัดหวน : Kivy framework เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับโทรศัพท์มือถือ

จากที่ผมรอคอยโครงการ Beeware มาจะร่วมๆสามปีแล้ว แต่พบว่าความก้าวหน้าของโครงการมีการเคลื่อนไหวน้อยมากเหมือนจะหยุดนิ่งสนิท สำหรับโครงการ Beeware คือโครงการทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมข้ามแพล็ตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยภาษาไพธอน ให้สามารถใช้งานได้ทุกแพล็ตฟอร์มอย่างหลากหลายโดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS เป็นโครงการเปิดโค้ด (open-source) ที่อาศัยการระดมทุนเพื่อหาเงินให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับ Kivy framework (ภาษาไทยออกเสียงกีวี เป็นคำพ้องเสียง Kiwi ที่เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง) ผมได้ศึกษาเบื้องต้นเมื่อเกือบจะสิบปีที่แล้ว…

Continue Reading →

วิธีการออกแบบและรังวัดโครงข่าย GNSS ฉบับคนเดินถนน (ตอนที่ 1)

ผมว่าในปัจจุบันนี้ ช่างสำรวจหรือวิศวกรสำรวจคงมีประสบการณ์การรังวัด GNSS ด้วยกันทุกคน โดยเฉพาะการรังวัดที่มีจำนวนหมุดมากกว่าสามหมุดขึ้นไป ก็ออกตัวตามชื่อบทความนะครับคือฉบับคนเดินถนน ไม่ใช่ฉบับผู้เชี่ยวชาญใดๆ เป็นแค่ end user คนหนึ่งกลั่นมาจากอ่านตำราและประมวลมาจากประสบการณ์ทำงานที่ลองผิดลองถูกและจากผิดพลาดของตัวผมเอง ในการรังวัดโครงข่าย GNSS ในที่นี้จะมาขอเน้นเรื่องคาบการรังวัด (session), เส้นฐานอิสระ(independent baseline) และ เส้นฐานไม่อิสระ(dependent (trivial)…

Continue Reading →

เพิ่มธีมมืดใน Surveyor Pocket Tools (มาสายดีกว่าไม่มา)

ตามสมัยนิยมก็ต้องมีธีมมีดว่ากันว่าช่วยกันประหยัดพลังงานของหน้าจอแบบ OLED และถนอมสายตาผู้ใช้ รวมทั้งใช้งานได้ดีในบริเวณที่มีแสงน้อย แต่ก็มีบางงานวิจัยกล่าวว่าการอ่านตัวหนังสือบนพื้นดำนานๆก็ทำให้สายตาล้าได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม Surveyor Pocket Tools ก็เปิดทางเลือกให้ผู้ใช้สามารถปรับได้ว่าจะเปิดหรือปิดธีมมืด จาก PySide2 สู่ PySide6 ระบบการแสดงผลกราฟฟิค (GUI) จากเดิมที่ผมใช้ PySide2 อิมพลีเมนต์มาจาก Qt5…

Continue Reading →

ภาษาไพทอนสู่เครื่องคิดเลข HP Prime

ปกติเครื่องคิดเลข HP Prime G2 ที่ผมยกให้เป็นเทพของเครื่องคิดเลขด้านวิทยาศาสตร์ทั้งหลาย ผมเขียนโปรแกรมด้วยภาษา HP PPL หรือ Prime Programming Language คล้ายๆปาสคาลแต่บางอย่างคล้ายไพทอน จากทิศทางที่เครื่องคิดเลขระดับไฮเอ็นต์ของ Casio และ TI ได้นำร่องโดยเอาภาษาไพทอนลงเครื่องคิดเลขไปก่อนหน้านี้ โดยจริงๆแล้วไพทอนในเวอร์ชั่นของเครื่องคิดเลขจะถูกออปติไมซ์ให้ใช้กับเครื่องที่มีความเร็วซีพียูที่ช้าและแรมไม่มากนัก ที่ดังที่สุดได้แก่…

Continue Reading →

อัพเดท : ปรับปรุงผลการคำนวณแปลงค่าพิกัดโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ให้ละเอียดถึงทศนิยมของมิลลิเมตรด้วย Surveyor Pocket Tools

จากรุ่นก่อนหน้านี้ของ Surveyor Pocket Tools นั้นสามารถแปลงค่าพิกัดในระบบ The First Construction Coordinate System ได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ความละเอียดจะถูกลดทอนลง 3-4 มม. เมื่อใช้คำนวณ The Third Construction Coordinate System…

Continue Reading →

เมื่อไลบรารี PROJ. จะคำนวณ Geoid Separation (N) ผ่านจีออยด์โมเดลในคลาวด์

โครงการ PROJ. ถ้าใช้ในไพทอนจะเรียกว่า PyProj ผมนำมาใช้เป็นไลบรารีหลักใน Surveyor Pocket Tools ถ้าผู้อ่านเคยดาวน์โหลดไปใช้งานจะพบว่าโปรแกรมมีขนาดใหญ่มาก ที่ขนาดใหญ่เพราะว่าต้องขนไฟล์จีออยด์เช่น EGM96, EGM2008 และ TGM2017 ไปใช้งาน เมื่อติดตั้งเสร็จจะพบว่าขนาดโดยรวมมีขนาด 1.1 GB ผมไม่แฮปปี้ตั้งแต่แรกเพราะถ้าอินเทอร์เน็ตไม่ดีการดาวน์โหลดโปรแกรมก็ต้องใช้เวลามาก แถมยังเสียพื้นที่ฮาร์ดดิสค์ในการติดตั้งมากอีกต่างหาก…

Continue Reading →