ผมว่างเว้นจากไม่ได้จับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ไปพักใหญ่หลายปี เมื่อสิบกว่าปีที่แล้วเคยจับ Arduino เขียนโค้ดด้วยภาษาซี ก็สนุกดีได้ความรู้พอสมควร มาในปัจจุบันเป็นยุคของไอโอที (iOT : Internet of Thing) เป็นยุคของอินเทอร์เน็ตของสิ่งของที่ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตของมนุษย์ สร้าง Echo sounder จากทรานสดิวเซอร์ Airmar DT800 มีโอกาสมาจับบอร์ด Raspberry…
เป็นความฝันของผมอันหนึ่งตั้งแต่สมัยจบใหม่ๆที่จะเขียนโปรแกรมสร้างชั้นความสูงจากข้อมูลจุดงานสำรวจ x, y, z แต่จนแล้วจนเล่าโครงการนี้ไม่เคยเกิดสักที เนื่องจากความรู้ความสามารถและทักษะไม่เพียงพอ ด้วยความยากในการคิดอัลกอริทึมที่จะสร้างสามเหลี่ยมด้านที่สั้นที่สุดจากจุด (point) งานสำรวจ จนกระทั่งเลยวัยแห่งความฝันอันนั้นมาไกลมากแล้ว ปัจจุบันในยุค open source มีไลบรารีด้านนี้ที่มีโมดูลส่วนหนึ่งที่มีความสามารถใกล้เคียงที่สามารถนำมาสร้างเส้นชั้นความสูงได้คือ matplotlib ไลบรารี matplotlib ตัว matplotlib เองถูกนำไปใช้ร่วมกับ…
ในขณะที่กำลังกักตัวอยู่ในสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าระบาด ผมได้เข้าคอร์สเรียนออนไลน์ไปหลายวิชา เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ค่าหน่วยกิตแต่ละวิชาค่อนข้างจะกระเทือนไตพอสมควร ไม่มีคอร์สไหนต่ำกว่าพันห้าร้อยบาท จะลองคอร์ส AI/Big Data ก็ประมาณหมื่นกว่าบาทได้แต่ถอยกรูดๆ ผมได้ตระเวนไปดูบทความของท่านอื่นที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมมิ่งพบหลายๆเว็บนำเสนอการดึงข้อมูลของไวรัสโคโรน่าด้วยโค้ดไพทอน ผมเห็นว่าน่าสนใจสำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาไพทอน ผมเลยประมวลผลคือจับโค้ดจากหลายๆเว็บมายำรวมมิตรกัน ผลลัพธ์ก็ได้อย่างที่กำลังจะติดตามกันต่อไป อาจจะไม่ลึกมากแต่ก็เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะคนที่กำลังสนใจด้าน Data Science ตอนนี้แต่ละคนใจคงจดจ่ออยู่ที่ว่าพื้นที่หรือประเทศตัวเองอยู่นั้นมีการระบาดของไวรัสเป็นอย่างไร มาลองดูประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน เราจะดึงข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนคนที่รักษาหาย…
ขอนำเสนอวิธีการติดตั้งในเบื้องต้นเพื่อใช้ PySide2 สำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาเขียนไพทอน บางครั้งไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ผมจะขอแนะนำสามสหายที่จะมาช่วยทำให้ชีวิตง่ายขึ้น PySide2 อยู่ระหว่างการพัฒนาจากเจ้าของ Qt framework เองจึงไม่ต้องห่วงว่าโครงการจะล้มลาเลิกร้างกันก่อน ฟรีและมีสัญญาอนุญาตแบบ LPGL v2 สามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อการค้าได้ รุ่นเสถียรอีกไม่นานนักน่าจะออกมาแล้ว Miniconda3 เป็นส่วนหนึ่งของ Anaconda ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คสำหรับการทำ data science สำหรับภาษาไพทอน…
ตอนนี้ถือว่ามาเล่าสู่กันฟังจากประสบการณ์ เป็นเรื่องโปรแกรมมิ่ง ถ้าไม่สนใจเรื่องโปรแกรมมิ่งก็ผ่านไปได้ครับ PyQt5 กับลิขสิทธิ์แบบ GPL v3 ผมเขียนไพทอนด้วยการใช้ PyQt5 มาได้สักระยะเวลาหนึ่ง น่าจะสองปีกว่าได้ ยอมรับว่าชอบมากๆ ก็ไม่ได้ระแวดระวังเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เท่าไหร่นัก ลิขสิทธิ์ของ PyQt5 เป็นแบบ GPL v3 ซึ่งสาระโดยรวมๆสามารถเอาไปใช้ได้สองกรณีคือ พัฒนาโปรแกรมแบบเปิดโค๊ด…
OpenGPSX component on SourceForge ผมได้นำ component ตัวนี้ไปใส่ใน SourceForge.net เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ถ้าต้องการตัวที่ update ก็ไปดาวน์โหลดกันได้เลยครับ หน้าตาของ OpenGPSX บน sourceforge ก็ประมาณดังรูปด้านล่าง จากตอนที่แล้วเราทำการแปะคอมโพเน็นต์ลงบนฟอร์ม เพื่อทดสอบอย่างง่าย ต่อไปจะเปิด…
คอมโพเน็นต์ OpenGPSX Concept ของ component คือผู้พัฒนาโปรแกรมทั่วๆไปสามารถนำ component ของผมไปใช้งานได้ง่าย ใช้เวลาน้อย โดยไม่ต้องมีความรู้เรื่อง GPS มาก ผมเขียนคอมโพเน็นต์ตัวนี้ขึ้นมาเพราะผมใช้ GPS บ่อย ตั้งแต่เครื่องมือถือทั่วๆไปเช่น Garmin หรือบน Pocket PC…
รูปด้านล่างแสดงตัว object ที่วางลงบนฟอร์มประกอบด้วย 2 combobox เก็บ datum ซึ่งผมจำกัดไว้แค่เท่าที่ประเทศไทยใช้กัน ส่วนตัวอื่นๆ ก็ไม่มีอะไรมาก มี Textbox จำนวน 4 ตัวสำหรับให้ผู้ใช้โปรแกรมกรอกค่าพิกัดที่ต้องการแปลง และ Label จำนวน 4 ตัวเพื่อแสดงค่าพิกัดที่แปลงแล้ว…
ตอนก่อนนี้ ผมเขียนโปรแกรมทดสอบไลบรารี GDAL/OGR ด้วยการเปิดไฟล์รูปแล้วอ่าน Metadata, ระบบพิกัด ตลอดจนแปลงฟอร์แม็ตของไฟล์รูป จะเห็นถึงความสามารถของไลบรารี ที่เตรียมฟังก์ชั่นทุกสิ่งทุกอย่างครอบคลุมด้าน Geospatial ไว้พร้อมสรรพ และไม่ต้องแปลกใจที่โปรแกรมดังๆ เช่น Google Earth, ArcGIS, Quantum GIS ต่างก็นำไปใช้ ดูชื่อโปรแกรมที่นำไลบรารีไปใช้ …
ตอนก่อนผมแนะนำไลบรารี GDAL/OGR ไปพอสมควร ตอนนี้มาเริ่มลองโปรแกรมมิ่งดูกัน โปรแกรมทดสอบผมดัดแปลงจากโค๊ดภาษาซี เป็น Lazarus ดูรายละเอียดโค๊ดภาษาซีได้ที่นี่ http://www.gdal.org/gdal_tutorial.html ส่วนไลบรารีส่วนมากแปลงจาก VB6 Download sourcecode สนใจก็ดาวน์โหลดได้ที่นี่ GDALTest1.zip ไลบราีรีที่ผมเขียน wrapper มามีทั้งหมด 11 ไฟล์…