การประมวลผลข้อมูลโดรนด้วย Agisoft Metashape ด้วยการต่อแบบโครงข่าย (Network Processing)

เนื่องจากมีฟีเจอร์นี้ใน Metashape ผมเลยสงสัยถึงประสิทธิภาพว่าจะได้สักขนาดไหน ก็เลยมาทดสอบกันในเบื้องต้นดูกัน การทดสอบจะใช้ทรัพยากรแบบมินิมอลประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง เครื่องแรงพอประมาณ 2 เครื่อง เครื่องธรรมดาอีก 2 เครื่อง ต่อกันเป็นเน็ตเวิร์คโดยใช้การ์ดไวร์เลสที่เราใช้กันทั่วๆไปต่อกับตัวเราเตอร์ ก็เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราต่อใช้งานในสำนักงานหรือที่บ้าน ที่พิเศษหน่อยในการทดสอบครั้งนี้คือข้อมูลจะถูกเก็บข้อมูลไว้บนเครื่อง NAS (Network Storage) จะมองว่าเป็นคอมพิวเตอร์เล็กๆอีกเครื่องหนึ่งก็ย่อมได้…

Continue Reading →

อัพเดท: นำเข้ารูปตัดตามขวางจาก Civil3D เข้า XSection Plot

งาน Earthwork หรืองานดินตัดดินถมนั้นคงขาดรูปตัดตามขวางและรูปตัดตามยาวไม่ได้ และเป็นทราบดีกันว่า Civil3D นั้นเก่งกาจในเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ทำอะไรที่ยากๆได้เช่นสร้าง Grading Object สำหรับงาน Earthwork ที่มีความซับซ้อนได้ แต่ก็แลกกับความยากของการศึกษาโปรแกรมนี้มาเช่นเดียวกัน ข้อเสียของ Civil3D นั้นคือความใหญ่โตของมัน กินทรัพยากรเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้สูงมากทีเดียวและอีกอย่างคือราคาค่อนข้างจะสูง เหมาะกับองค์กรมากกว่า แต่ถ้าผู้ใช้ตามบ้านๆมีกำลังซื้อก็ไม่ว่ากันครับ ดังนั้นการสร้างแผนที่รูปตัดตามขวางใน…

Continue Reading →

โปรแกรมมิ่ง: เขียนโค้ดไพทอนสร้างเส้นชั้นความสูง (contours) ด้วยไลบรารี matplotlib

เป็นความฝันของผมอันหนึ่งตั้งแต่สมัยจบใหม่ๆที่จะเขียนโปรแกรมสร้างชั้นความสูงจากข้อมูลจุดงานสำรวจ x, y, z แต่จนแล้วจนเล่าโครงการนี้ไม่เคยเกิดสักที เนื่องจากความรู้ความสามารถและทักษะไม่เพียงพอ ด้วยความยากในการคิดอัลกอริทึมที่จะสร้างสามเหลี่ยมด้านที่สั้นที่สุดจากจุด (point) งานสำรวจ จนกระทั่งเลยวัยแห่งความฝันอันนั้นมาไกลมากแล้ว ปัจจุบันในยุค open source มีไลบรารีด้านนี้ที่มีโมดูลส่วนหนึ่งที่มีความสามารถใกล้เคียงที่สามารถนำมาสร้างเส้นชั้นความสูงได้คือ matplotlib ไลบรารี matplotlib ตัว matplotlib เองถูกนำไปใช้ร่วมกับ…

Continue Reading →

OpenDroneMap – การคำนวณโดยการใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point) ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 ผมนำเสนอการปรุจุดเพื่อกำหนดจุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point) แบบวิ่งควาย ที่อาศัยแรงกันเป็นหลัก ได้ไฟล์มาตั้งชื่อ “gcp_list_Computation_WGS84_UTM32N.txt” เอามาลงอีกครั้งด้านล่าง สร้างโปรเจคคำนวณ กลับมาที่ WebODM วิธีการใช้ติดตามตอนแรกได้ที่ ลิ๊งค์ นี้ คลิกที่ “+Add Project”…

Continue Reading →

OpenDroneMap – การคำนวณโดยการใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point) ตอนที่ 1

สำหรับงานสำรวจทำแผนที่ นับว่าการบินโดรนเพื่อมาทำแผนที่ให้ได้พิกัดโลกที่ละเอียดนำไปใช้งานได้นั้น วิธีการดั้งเดิมคือใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point – GCP) สมัยใหม่อาจจะใช้ RTK/PPK ก็ให้ความสะดวกมากขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า มาลองดูกันว่าการใช้จุดบังคับภาพถ่ายเพื่อนำมาใช้ในโปรแกรมฟรี OpenDroneMap จะเป็นยังไง ความยากความง่าย ความสะดวกจะขนาดไหน การกำหนดจุดบังคับภาพถ่ายโดยใช้ GCP ถ้าผู้อ่านรุ่นราวคราวเดียวกับผม เคยเรียนวิชา…

Continue Reading →

แนะนำโปรแกรมงานคำนวณภาพถ่ายทางอากาศ(โดรน) ด้วย OpenDroneMap (ฟรี) ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 ผมได้แนะแนววิธีการติดตั้ง OpenDroneMap ไปอย่างย่อและได้แนะนำลิ๊งค์ให้ไปดูกันต่อที่ละเอียดมาก มาในตอนนี้มาทดสอบวิธีการคำนวณจากชุดภาพตัวอย่าง ODMData ตามไปที่ลิ๊งค์นี้ จะเห็นข้อมูลภาพชุดตัวอย่าง (Dataset) ในฐานะที่ผมเป็นช่างสำรวจ ผมสนใจชุดภาพที่มี GCPs (Ground Control Points) และชุดภาพที่มีค่าพิกัดจาก RTK ติดมาที่แท็กหรือ Exif…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GGF เพื่อใช้ในโปรแกรม Trimble Business Center

สำหรับแบบจำลองโมเดลจีออยด์ความละเอียดสูงของไทย TGM2017 ที่ผมแปลงเป็นรูปแบบ NOAA VDatum binary grid (gtx) นำมาใช้งานกับโปรแกรม Surveyor Pocket Tools แต่ก็มีโปรแกรมอื่นๆเช่น Trimble Business Center ที่ต้องการรูปแบบที่ต่างออกไปคือ Trimble Geoid Grid…

Continue Reading →

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของไลบรารี Proj.4

วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…

Continue Reading →

ทดสอบคำนวณหาความสูงจีออยด์ TGM2017 ด้วยไลบรารี Proj.4

ไม่นานมานี้มีผมดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมและข้อมูลของ TGM2017 เรียกเต็มๆคือ Thailand Geoid Model 2017 ที่เป็นโครงการร่วมมือจากหลายๆฝ่ายของทางราชการ ผมยังไม่มีโอกาสได้นำไปใช้งาน โดยเฉพาะจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานรังวัด GNSS ถือว่าเป็นสิ่งที่พวกเรารอคอยมานานที่จะได้มี local geoid model มาใช้งานกัน โดยเฉพาะงานรังวัด GNSS เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าพิกัดทางราบ และทางดิ่งจะได้ความสูง…

Continue Reading →

เมื่อผมลองดี โมดิฟายด์แอพ DJI GO 4 ด้วย Deejayeye-Modder สำหรับโดรน DJI Spark

จากลองของเป็นลองดี จากตอนที่แล้วเมื่อต้องลองของเอาโดรนเซลฟี่ DJI Spark มาบินทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ ตอนนี้เลยคำว่า”ลองของ”ไปไกลหลายช่วงตัวแล้ว เพราะแพ็ตช์หรือโมดิฟายด์แอพ DJI GO 4 เรียกง่ายว่าเป็นการ “ลองดี” ไปแล้ว เพื่อนำโดรนมาบินทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศโดยที่เปิดหรือใช้ฟีเจอร์ที่ซ่อนไว้ ตอนนี้ฟีเจอร์เทียบได้กับโดรนรุ่นใหญ่เช่น Phantom 4 Pro หรือ Mavic…

Continue Reading →