เมื่อไลบรารี PROJ. จะคำนวณ Geoid Separation (N) ผ่านจีออยด์โมเดลในคลาวด์

โครงการ PROJ. ถ้าใช้ในไพทอนจะเรียกว่า PyProj ผมนำมาใช้เป็นไลบรารีหลักใน Surveyor Pocket Tools ถ้าผู้อ่านเคยดาวน์โหลดไปใช้งานจะพบว่าโปรแกรมมีขนาดใหญ่มาก ที่ขนาดใหญ่เพราะว่าต้องขนไฟล์จีออยด์เช่น EGM96, EGM2008 และ TGM2017 ไปใช้งาน เมื่อติดตั้งเสร็จจะพบว่าขนาดโดยรวมมีขนาด 1.1 GB ผมไม่แฮปปี้ตั้งแต่แรกเพราะถ้าอินเทอร์เน็ตไม่ดีการดาวน์โหลดโปรแกรมก็ต้องใช้เวลามาก แถมยังเสียพื้นที่ฮาร์ดดิสค์ในการติดตั้งมากอีกต่างหาก…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GFF เพื่อใช้ในโปรแกรม Magnet และอุปกรณ์ของ Topcon

ในเมื่อต่อยอดแล้วคงเอาให้สุดๆ ตอนที่แล้วผมแปลงไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 จากต้นฉบับ (เครดิด: จัดทำโดยทีมงานดร.พุทธิพล ดำรงชัยและคณะ) เป็นรูปแบบ Lieca GEM เพื่อใช้ในโปรแกรม SKI-Pro & LGO ตอนนี้ที่คิดได้ยังมีอุปกรณ์ค่าย Sokkia & Topcon ที่ยังไม่ได้จัดทำ เหมือนเดิมคือไม่สามารถหารูปแบบไฟล์…

Continue Reading →

ย้อนรอยวิธีสร้างไฟล์รูปแบบ PGM ของ TGM2017 สำหรับใช้ใน GeographicLib

ผมได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ TGM2017 (Thailand Geoid Model 2017) มาหลายตอนแล้ว ไม่นานมานี้ทางรุ่นพี่ที่เคารพอาจารย์ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ได้วานให้ตรวจสอบไฟล์ TGM2017-1.PGM ที่ทางอาจารย์ได้สร้างไว้ด้วยโค้ดไพทอนเพื่อนำมาใช้ในไลบรารี GeographicLib ผมทดสอบแล้วใช้งานได้ดี ในขณะเดียวกันผมเห็นว่าน่าสนใจเพราะสามารถเผยแพร่การใช้งาน TGM2017 ให้ใช้งานได้หลากหลายในวงกว้างยิ่งๆขึ้นไป ผมขอสรุปรูปแบบการใช้งานดังนี้ รูปแบบแอสกี้: TGM2017.ASC…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GGF เพื่อใช้ในโปรแกรม Trimble Business Center

สำหรับแบบจำลองโมเดลจีออยด์ความละเอียดสูงของไทย TGM2017 ที่ผมแปลงเป็นรูปแบบ NOAA VDatum binary grid (gtx) นำมาใช้งานกับโปรแกรม Surveyor Pocket Tools แต่ก็มีโปรแกรมอื่นๆเช่น Trimble Business Center ที่ต้องการรูปแบบที่ต่างออกไปคือ Trimble Geoid Grid…

Continue Reading →

Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ จากไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์

ในกรณีที่ต้องการค่าความสูงจีออยด์จากจุดที่มีจำนวนมากตัวอย่างเช่นเป็นสิบจุดขึ้นไป การมานั่งคำนวณทีละจุดคงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ผมปรับปรุงโปรแกรมให้สามารถอ่านไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ในรูปแบบ CSV ที่ใช้ตัวแบ่งด้วยเครื่องหมายคอมมา “,” ค่าพิกัดละติจูดและลองจิจูด ต้องเป็นรูปแบบทศนิยม (degree) เท่านั้น การจัดเรียงค่าพิกัดของให้ขึ้นต้นด้วยค่าลองจิจูดตามด้วยเครื่องหมายคอมม่าและค่าละติจูด ไฟล์ทดสอบ ไฟล์ที่จะมาทดสอบโปรแกรม ผมสร้างจากโค้ดภาษาไพทอน ให้สุ่มจำนวนจุดค่าพิกัดขึ้นมา 10000 จุด โดยให้ค่าพิกัดที่สุ่มอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้คือ…

Continue Reading →

โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ Surveyor Pocket Tools : Update คำนวณพื้นที่และ Scale Factor ด้วย TGM2017

สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…

Continue Reading →

Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017

มาตามสัญญาที่ผมบอกว่าจะอัพเดท Surveyor Pocket Tools โปรแกรมช่างสำรวจฉบับกระเป๋า ให้สามารถใช้งานคำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017 (Thailand Precise Geoid Model 2017) ดั้งเดิมสามารถคำนวณบนโมเดล EGM96 และ EGM2008 เพียงเท่านั้น เปลี่ยนวีธีการคำนวณโดยใช้ไลบรารี Proj4 ดั้งเดิมตอนคำนวณหาความสูงจีออยด์บน…

Continue Reading →

ทดสอบคำนวณหาความสูงจีออยด์ TGM2017 ด้วยไลบรารี Proj.4

ไม่นานมานี้มีผมดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมและข้อมูลของ TGM2017 เรียกเต็มๆคือ Thailand Geoid Model 2017 ที่เป็นโครงการร่วมมือจากหลายๆฝ่ายของทางราชการ ผมยังไม่มีโอกาสได้นำไปใช้งาน โดยเฉพาะจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานรังวัด GNSS ถือว่าเป็นสิ่งที่พวกเรารอคอยมานานที่จะได้มี local geoid model มาใช้งานกัน โดยเฉพาะงานรังวัด GNSS เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าพิกัดทางราบ และทางดิ่งจะได้ความสูง…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools – Update เพิ่มโปรแกรมคำนวณสเกลแฟคเตอร์ (Point Scale Factor) – ตอนที่ 2 (ตอนจบ)

ทดสอบตัวอย่างที่ 2 บนพื้นหลักฐาน Indian 1975 ตัวอย่างนี้จะดึงจากตารางฐานข้อมูลที่ผมเตรียมไว้ หมายเหตุว่าตารางฐานข้อมูลผมบูรณาการใหม่ จากเดิมที่เคยเก็บค่าพิกัดในระบบพิกัดฉากกับระบบภูมิศาสตร์แยกกัน ตอนนี้จับมารวมอยู่ด้วยกัน พร้อมมีฟิลด์ที่เก็บระบบพิกัดด้วย เวลาต้องการใช้งานก็ลากมาคำนวณได้เลย จากรูปด้านล่างคลิกที่ไอคอนรูปหมุด จะได้ตารางข้อมูลที่เก็บค่าพิกัดและค่าระดับ(ถ้ามี) พร้อมทั้งระบบพิกัด เมื่อเปิดมาแล้วผมลากเปลียนขนาดให้ดูใหญ่ว่าแต่ละคอลัมน์มีอะไรบ้าง และเลื่อนตารางไปท้ายสุด ดูบรรทัดที่ไฮไลท์เป็นสีน้ำเงินไว้ เราจะทดสอบโดยใช้ข้อมูลนี้ ระบบพิกัดของจุดนี้อยู่บนพื้นหลักฐาน “Indian…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools – คำนวณพื้นที่ เรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา (ตอนที่ 1)

Surveyor Pocket Tools เป็นโปรแกรมที่รวบรวมเครื่องมือเล็กเครื่องมือน้อยสำหรับช่างสำรวจ ตอนนี้เพิ่มการคำนวณหาพื้นที่ หลากหลายประเด็นที่จะมาคุยกันว่ามันควรจะง่ายธรรมดาแต่มันไม่ธรรมดาอย่างไร ย้อนรอยสูตรคำนวณหาพื้นที่ Surveyor Pocket Tools รุ่นก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นงานคำนวณในงานเซอร์เวย์เรื่อง Advance เช่นงานคำนวณหาระยะทางบน Ellipsoid งานคำนวณหาความสูงของจีออยด์ การแปลงพิกัด ตอนนี้จะกลับมาเรื่องพื้นฐานคือการคำนวณหาพื้นที่ การคำนวณหาพื้นที่ ปกติที่เราคุ้นหูคุ้นตาคือ การเอาค่าพิกัด…

Continue Reading →