ไพทอนบนเครื่องคิดเลข Casio fx-cg50 Prizm กลับมาวิ่งฉิวเป็นเทพแล้ว

สองปีที่แล้วพอดีผมถอยเครื่องคิดเลขคาสิโอ fx-cg50 Prizm เพราะว่าสนับสนุนภาษาไพทอน อยากลองเขียนไพทอนบนเครื่องคิดเลขดู แต่เนื่องจากไพทอนไม่สามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่นในเครื่องคิดเลขต่างๆ เช่นฟังก์ชั่นวาดรูป ฟังก์ชั่นการพล็อทกราฟ คาสิโอเองก็รีบเอาไพทอนมาลงเครื่องคิดเลขเร็วเกินไป ผมเอามาทำที่ทับกระดาษเล่นๆ จนกระทั่งสองปีให้หลังจนบัดนี้ (10 กันยายน 2020) ทางคาสิโอเพิ่งอัพเดทโอเอสของเครื่องคิดเลขจากรุ่น 3.30 มาเป็น 3.40 และได้เพิ่มฟังก์ชั่นการวาดรูปให้กับเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ มาลองดูว่าอัพเดทแล้วมีอะไรบ้าง…

Continue Reading →

แนะนำ beeware เครื่องมือพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาไพทอนแบบเนทีฟสำหรับโทรศัพท์มือถือ

ผมได้ติดตามเป็นแฟนของ beeware มาได้ประมาณร่วมๆจะสองปีแล้วครับ beeware เป็นแพล็ตฟอร์มพัฒนาโปรแกรมแบบ cross-platform ที่อ้างว่าสามารถพัฒนาโปรแกรมแบบ desktop ได้ทั้งวินโดส์ ลีนุกซ์และแมคโอเอส รวมไปถึงแอนดรอยด์และไอโอเอส ปกติผมใช้ PySide2 สำหรับโปรแกรมบนเดสค์ท็อปอยู่แล้วเลยไม่รู้สึกตื่นเต้นตรงที่สนับสนุนโปรแกรมบนเดสค์ท็อปเท่าไหร่นัก แต่สำหรับภาษาไพทอนที่จะไปใช้ได้แบบเนทีฟ (native) บนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และไอโอเอส ยอมรับว่าตื่นเต้นพอสมควร ความนิยมภาษาไพทอนในปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก เป็นที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเรียนรู้ง่าย…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GFF เพื่อใช้ในโปรแกรม Magnet และอุปกรณ์ของ Topcon

ในเมื่อต่อยอดแล้วคงเอาให้สุดๆ ตอนที่แล้วผมแปลงไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 จากต้นฉบับ (เครดิด: จัดทำโดยทีมงานดร.พุทธิพล ดำรงชัยและคณะ) เป็นรูปแบบ Lieca GEM เพื่อใช้ในโปรแกรม SKI-Pro & LGO ตอนนี้ที่คิดได้ยังมีอุปกรณ์ค่าย Sokkia & Topcon ที่ยังไม่ได้จัดทำ เหมือนเดิมคือไม่สามารถหารูปแบบไฟล์…

Continue Reading →

แปลงรูปแบบไฟล์แบบจำลองความสูงจีออยด์ TGM2017 เป็น GEM เพื่อใช้ในโปรแกรม SKI-Pro & LGO

ที่ผ่านมาผมได้จัดทำรูปแบบไฟล์ TGM2017 จากต้นฉบับเดิมให้มีรูปแบบหลากหลายสามารถนำไปใช้ในโปรแกรมต่างๆ เช่น รูปแบบ GTX, GGF ส่วนรูปแบบ PGM ที่เอื้อเฟื้อจัดทำโดยดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ แต่ก็มีน้องๆทัดทานมาว่ารูปแบบ Leica Geoid Model (GEM) น่าจะยังไม่มีคนจัดทำ Leica Geoid Model…

Continue Reading →

โปรแกรมมิ่ง: เขียนโค้ดไพทอนสร้างเส้นชั้นความสูง (contours) ด้วยไลบรารี matplotlib

เป็นความฝันของผมอันหนึ่งตั้งแต่สมัยจบใหม่ๆที่จะเขียนโปรแกรมสร้างชั้นความสูงจากข้อมูลจุดงานสำรวจ x, y, z แต่จนแล้วจนเล่าโครงการนี้ไม่เคยเกิดสักที เนื่องจากความรู้ความสามารถและทักษะไม่เพียงพอ ด้วยความยากในการคิดอัลกอริทึมที่จะสร้างสามเหลี่ยมด้านที่สั้นที่สุดจากจุด (point) งานสำรวจ จนกระทั่งเลยวัยแห่งความฝันอันนั้นมาไกลมากแล้ว ปัจจุบันในยุค open source มีไลบรารีด้านนี้ที่มีโมดูลส่วนหนึ่งที่มีความสามารถใกล้เคียงที่สามารถนำมาสร้างเส้นชั้นความสูงได้คือ matplotlib ไลบรารี matplotlib ตัว matplotlib เองถูกนำไปใช้ร่วมกับ…

Continue Reading →

โปรแกรมมิ่ง: เขียนโค้ดไพทอนดึงข้อมูลออนไลน์ของโควิด-19 มาประมวลผลด้วย Pandas

ในขณะที่กำลังกักตัวอยู่ในสถานการณ์ไวรัสโคโรน่าระบาด ผมได้เข้าคอร์สเรียนออนไลน์ไปหลายวิชา เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ค่าหน่วยกิตแต่ละวิชาค่อนข้างจะกระเทือนไตพอสมควร ไม่มีคอร์สไหนต่ำกว่าพันห้าร้อยบาท จะลองคอร์ส AI/Big Data ก็ประมาณหมื่นกว่าบาทได้แต่ถอยกรูดๆ ผมได้ตระเวนไปดูบทความของท่านอื่นที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมมิ่งพบหลายๆเว็บนำเสนอการดึงข้อมูลของไวรัสโคโรน่าด้วยโค้ดไพทอน ผมเห็นว่าน่าสนใจสำหรับนักศึกษาที่กำลังศึกษาไพทอน ผมเลยประมวลผลคือจับโค้ดจากหลายๆเว็บมายำรวมมิตรกัน ผลลัพธ์ก็ได้อย่างที่กำลังจะติดตามกันต่อไป อาจจะไม่ลึกมากแต่ก็เป็นพื้นฐานโดยเฉพาะคนที่กำลังสนใจด้าน Data Science ตอนนี้แต่ละคนใจคงจดจ่ออยู่ที่ว่าพื้นที่หรือประเทศตัวเองอยู่นั้นมีการระบาดของไวรัสเป็นอย่างไร มาลองดูประมวลผลข้อมูลพื้นฐาน เราจะดึงข้อมูลจำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนคนที่รักษาหาย…

Continue Reading →

พอร์ท:โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) มาใช้บนแมคโอเอส

โปรแกรมเขียนแบบรูปตัด (XSection Plot) นับว่าเป็นโปรแกรมลำดับที่สามที่ผมพอร์ทมาใช้บนแมคโอเอส ถัดจาก Traverse Pro และ Surveyor Pocket Tools ติดตามบทความเดิมได้ด้านล่าง XSection Plot พัฒนาด้วยภาษาไพทอน (Python) กราฟฟิคติดต่อผู้ใช้ใช้ PySide2 (Qt for…

Continue Reading →

ย้อนรอยวิธีสร้างไฟล์รูปแบบ PGM ของ TGM2017 สำหรับใช้ใน GeographicLib

ผมได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ TGM2017 (Thailand Geoid Model 2017) มาหลายตอนแล้ว ไม่นานมานี้ทางรุ่นพี่ที่เคารพอาจารย์ดร.ไพศาล สันติธรรมนนท์ ได้วานให้ตรวจสอบไฟล์ TGM2017-1.PGM ที่ทางอาจารย์ได้สร้างไว้ด้วยโค้ดไพทอนเพื่อนำมาใช้ในไลบรารี GeographicLib ผมทดสอบแล้วใช้งานได้ดี ในขณะเดียวกันผมเห็นว่าน่าสนใจเพราะสามารถเผยแพร่การใช้งาน TGM2017 ให้ใช้งานได้หลากหลายในวงกว้างยิ่งๆขึ้นไป ผมขอสรุปรูปแบบการใช้งานดังนี้ รูปแบบแอสกี้: TGM2017.ASC…

Continue Reading →

แนะนำโปรแกรมงานคำนวณภาพถ่ายทางอากาศ(โดรน) ด้วย OpenDroneMap (ฟรี) ตอนที่ 1

ช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ต้องยอมรับว่างานสำรวจทำแผนที่ด้วยโดรนจะมาแรงมาก ตอนนี้เทคโนโลยียิ่งล้ำไปไกล รูปถ่ายที่ดีมากละเอียดมากจากเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพที่ก้าวกระโดด ส่งผลให้งานคำนวณผลลัพธ์ได้ point cloud ที่ละเอียดมากตามไปด้วย ตอนนี้แนวโน้มงานทำแผนที่ด้วยโดรนจากยุคที่ต้องทำ Ground Control Points (GCPs) ในภาคสนาม กำลังจะเข้าสู่ยุคของ RTK/PPK GNSS เนื่องจากเครื่องรับสัญญาน GNSS มีขนาดเล็กลง…

Continue Reading →

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของไลบรารี Proj.4

วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…

Continue Reading →