Surveyor Pocket Tools โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (แจกฟรี) – ตอนที่ 3

Geodesic Distance ผ่านไปแล้วสองโปรแกรม วันนี้มาว่ากันเรื่องโปรแกรมวัดระยะทางที่กำหนดค่าพิกัดให้สองจุด การวัดระยะทางไปตามผิวของทรงรีแนวที่สั้นที่สุดเรียกว่า Geodesic distance ใช้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ แลตติจูดและลองจิจูด ถ้าเป็นระบบกริดอยู่ในโซนเดียวกัน ศูนย์กำเนิดเดียวกันสามารถหาระยะทางได้จากสูตรง่ายๆ ที่ผมเรียนกันตอนมัธยมต้น (หลักสูตรสมัยใหม่ประถมก็เรียนแล้ว)  ระยะทาง = √((x2−x1)²+(y2−y1)²) มาดูโปรแกรม Geodesic distance เรียงจากบนลงมาไอคอนที่สาม…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (แจกฟรี) – ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 ผมได้แนะนำโปรแกรมย่อย UTM – Geo Converter สำหรับแปลงพิกัดบนพื้นหลักฐาน WGS84 มาถึงตอนนี้จะมาดูโปรแกรมแปลงพิกัดข้ามพื้นหลักฐาน (datum) กันว่าเป็นอย่างไร จากรูปด้านล่าง ดับเบิ้ลคลิกที่โปรแกรมที่สอง “Transform Coordinates“  เปิดโปรแกรมมาจะมีช่อง input/output ด้านซ้ายและด้านขวา ตรงกลางจะมีไอคอนลูกศรแสดงการแปลงพิกัดจากซ้ายไปขวาหรือจากขวามาซ้ายก็ได้…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (แจกฟรี) – ตอนที่ 1

ความเป็นมา ปกติผมเป็นคนชอบพกเครื่องมือสารพัดประโยชน์เช่นมีดพับในกระเป๋ากางเกง เพราะสะดวกรวมทุกสิ่งทุกอย่างทั้งไขควง มีด กรรไกร ตะไบ ที่เปิดขวด ยี่ห้อที่ชอบได้แก่  Leatherman, Victorinox เมื่อสองปีที่แล้วไปโมซัมบิค อาฟริกา ท่านศุลกากรที่นั่นเปิดกระเป๋าเดินทางเพื่อตรวจก่อนออกจากสนามบิน  แอบสอย Victorinox ของผมไปหน้าตาเฉย เสียดายครับเพราะใช้มาหลายสิบปี แต่ก็อโหสิกรรมให้ท่านผู้นั้นไปแล้ว โปรแกรมที่จะแนะนำก็คล้ายกับมีดพับสารพัดประโยชน์แบบเดียวกัน ที่ใช้บ่อยสำหรับคนที่ทำงานสนามคือโปรแกรมแปลงพิกัดค่ากริดยูทีเอ็ม…

Continue Reading →

สิ้นสุดการรอคอย XSection Plot รุ่น 4.10 มาแล้ว ตอนที่ 3 (จบ)

10.การจัดเรียงรูปตัดบนกระดาษเขียนแบบ (Page Layout) การจัดเรียงรูปตัด เลือกทูลบาร์และคลิกที่ “Page layout” ได้ดังรูป ความยาวของรูปตัดแต่ละรูปตัด ความกว้างในแนวดิ่ง มาตราส่วน จะมีผลต่อขนาดของรูปตัดแต่ละรูป ที่่จะวางบนกระดาษเขียนแบบ  การจัดเรียงรูปตัดให้เหมาะสม ผู้ใช้สามารถเลือกจำนวนรูปตัดในแนวดิ่ง จำนวนรูปตัดในแนวนอน ลองตั้งค่าตามรูปด้านล่าง เนื่องจากข้อมูลที่เรากำลังทดลองใช้งานอยู่มี 4 รูปตัดและความกว้างของรูปตัดประมาณ…

Continue Reading →

สิ้นสุดการรอคอย XSection Plot รุ่น 4.10 มาแล้ว ตอนที่ 2

6.เปิดไฟล์ข้อมูล (Open file) ขั้นตอนต่อไปจะมาเปิดไฟล์ข้อมูล เริ่มจากไฟล์ Typical section ที่จัดเก็บไว้ใน Documents ขั้นตอนตามรูปด้านล่าง ขั้นตอนที่ 3 เลือกประเภทของไฟล์เป็น .txml โปรแกรมจะอ่านข้อมูล และแสดงผลบนตารางในแท็บ “Typical section” ต่อไปเช่นเดียวกันเปิดไฟล์ Existing…

Continue Reading →

สิ้นสุดการรอคอย XSection Plot รุ่น 4.10 มาแล้ว ตอนที่ 1

ถึงจะล่าช้าแต่ก็มาตามสัญญา โปรแกรมเขียนรูปตัดตามขวาง XSection Plot รุ่นนี้รุ่น 4.10 มาแทนรุ่นเดิม 3.25 ที่ปลดระวางด้วยเนื่องจากอายุมากร่วมสองทศวรรษ แต่ขอแจ้งไว้ก่อนรุ่นนี้ยังเป็นรุ่นทดลองใช้ (beta) นะครับ เพราะยังมีบั๊กอยู่บ้าง แต่โดยรวมใช้งานได้ ความเป็นมาของโปรแกรม อ่านความเป็นมาของโปรแกรมได้อย่างละเอียดที่ => ก้าวต่อไปของโปรแกรมเขียนรูปตัดตามขวาง XSection Plot…

Continue Reading →

ก้าวที่ใกล้กับโปรแกรมเขียนรูปตัดตามขวาง XSection Plot รุ่นใหม่

ก้าวที่ผ่านมา ผ่านมาครึ่งปีกว่าแล้วก็ยังไม่เสร็จตามสัญญา แต่โปรแกรมก็คืบหน้าไปพอสมควรครับ ขอเท้าถึงความหลังหน่อยว่าโปรแกรมรุ่นเดิมเขียนด้วย VB ที่นับอายุอานามแล้วจะใกล้ๆ 20 ปีเข้าไปแล้ว ผมนำโปรแกรมมาพัฒนาใหม่ด้วยของฟรีดีมีคุณภาพ Python3 + Qt5 แรกก็ตะกุกตะกักพอสมควรเนื่องจากยังใหม่กับ Python และเป็นครั้งแรกที่ใช้  Qt สำหรับ Python ที่ว่ากันว่าเรียนง่ายเขียนง่าย แต่สำหรับผมที่เขียนด้วยภาษาอื่นมานมนานก็ต้องบอกว่า…

Continue Reading →

ก้าวต่อไปของโปรแกรมเขียนรูปตัดตามขวาง XSection Plot ในร่างใหม่พัฒนาด้วย Python + Qt

ลาก่อน XSection Plot รุ่น 3.25 โปรแกรมพล็อทรูปตัดตามขวาง XSection Plot เดิมๆนั้นผมเขียนด้วย Visual Basic 6 ใช้มาเป็นสิบๆปีแล้ว บัดนี้ถึงกาลเวลาที่จะต้องฝังในความทรงจำแล้ว เพราะฟอนต์ที่เคยแสดงผลได้ในวินโดส์ XP กลับกลายเป็นตัวประหลาดในวินโดส์ 7/8 ผมเข้าใจว่าฟอนต์ระบบที่เคยอยู่ในวินโดส์ XP…

Continue Reading →