Sound Velocity Profiler (SVP) นั้นสำคัญไฉนกับงาน Bathymetric Survey

ในงานสำรวจหยั่งน้ำ Bathymetric survey ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง ซึ่งบางงานต้องการ Accuracy ถึงระดับหลักเซนติเมตร งานก่อสร้างทางทะเลเช่นงานถมทะเล (Reclamation) ตลอดจนงานขุดลอก (Dredging) โดยเฉพาะงานขุดลอกถ้าเป็นงานใหญ่ๆระดับปริมาณขุดลอกเป็นล้านคิวขึ้นไป หรือถ้าปริมาณขุดลอกระดับสิบล้านคิวถือว่าเป็นงานใหญ่มากและซีเรียสเรื่อง Accuracy พอสมควร ความเร็วเสียงในน้ำ (Sound Velocity) โจทย์ก็คือจะทำอย่างไรให้งานสำรวจหยั่งน้ำได้ความถูกต้องขนาดนี้ สำหรับเครื่อง…

Continue Reading →

Dart&Flutter: ตกหลุมขวากกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟบน iOS

จะถือว่าเป็นตอนที่สองต่อจาก Dart & Flutter : เส้นทางขวากหนามกับไลบรารี PROJ แบบเนทีฟ ก็ได้ครับ หลังที่ผมปล้ำไลบรารี PROJ แบบเนทีฟตั้งแต่เขาซอร์สโค้ดภาษา C/C++ มาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm บนแอนดรอยด์ ไม่ง่ายครับประมาณเดินผ่านขวากหนามพอได้เลือดซิบๆ ตอนนี้มาถึงความโหดของการนำซอร์สโค้ดชุดเดียวกันมาคอมไพล์ให้เป็นสถาปัตยกรรม Arm เช่นเดียวกันแต่ไปรันบน…

Continue Reading →

ประสบการณ์ติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำเฉพาะกิจ (Automatic Tide Gauge)

ในงานก่อสร้างทางทะเลที่ผมทำอยู่ปัจจุบัน ในสัญญาระบุว่าต้องติดตั้งสถานีวัดระดับน้ำให้ด้วยเป็นแบบ Automatic Tide Gauge คือสามารถวัดระดับน้ำและบันทึกข้อมูลลงจัดเก็บในไฟล์คือเก็บเข้า sd card ได้ทุก 15 นาที ข้อกำหนดว่าไว้อย่างนั้น บรรทัดน้ำ ด้วยความที่ไม่เคยติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์ด้านนี้มาก่อน ก่อนหน้านี้เป็นผู้ใช้งานอย่างเดียว ถ้าจะติดตั้งใช้งานเองประมาณว่าใช้ไม้หน้าสี่ทาสีแล้วพ่นสีสเปรย์ เรียกกันว่าไม้บรรทัดน้ำ โดยที่รูปแบบคล้ายๆกับสตาฟที่อ่านในงานระดับ ตอนติดตั้งก็เดินระดับจากหมุดที่ทราบค่าลงผิวน้ำ ติดตั้งบรรทัดน้ำให้ตรึงอยู่กับที่ไม่ให้เคลื่อนไหว…

Continue Reading →

เมื่อคลื่นลมแปรปรวน กับการใช้ Emlid RS2 บนความสูงโพล 15 เมตร

พื้นฐานดั้งเดิมของผมคือทำงานมารีนมาโดยตลอด สลับกับการทำงานบนบกบ้างเป็นบางคราว ครั้งนี้ไปทำงานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าที่บังคลาเทศประมาณ 5 ปี ก็ได้หวนกลับสู่งานมารีนอีกคราคืองานก่อสร้างทางทะเลเป็นงานก่อสร้างเขื่อนกับคลื่นและทราย เป็นงานระดับเมกะโปรเจคโครงการหนึ่งทีเดียว เดือนสิงหาคม-ตุลาคมเป็นเดือนแห่งฤดูมรสุมที่คลื่นลมแรงจัด เนื่องจากเรือสำรวจเป็นเรือที่มีขนาดเล็กกินน้ำประมาณ 2.8 เมตร สภาพเรือเป็นเรือทำงาน (working boat) โครงสร้างเหล็กทั้งลำมาดัดแปลงเป็นเรือสำรวจ พอคลื่นลมแรงก็เป็นปัญหาไม่สามารถออกทำงานได้ด้วยอันตรายจากคลื่นสูงอาจจะทำให้เรือพลิกคว่ำได้ สำหรับบทความนี้ก็ขอเล่าประสบการณ์เซอร์เวย์ ที่ไม่เคยทำมาก่อนเป็นงานมารีน สำหรับงานสเป็คในงานสำรวจทางทะเลนั้นทั่วๆไปจะยอมให้ค่าความคลาดเคลื่อนได้สูงกว่างานบก เนื่องจากลักษณะส่วนใหญ่เป็นงานใต้น้ำ…

Continue Reading →

การต่อ Emlid RS2 แบบบลูทูธเข้ากับ Hypack

ขวัญใจโลกที่สาม สำหรับ Emlid RS2 ที่ทางทีมงานผมได้สั่งเข้ามาทดลองใช้งานก่อนสองชุดเนื่องจากเป็นอุปกรณ์ RTK มีราคาถูกมาก ประมาณชุดละแปดหมื่นบาท ขอยืมคำพูดคุณปฐมพงศ์ สทล.12 มาใช้ว่า Emlid คือ “ขวัญใจของโลกที่สาม” ด้วยราคาที่ถูก ประสิทธิภาพพอตัว รุ่นนี้นอกจากวัด RTK ได้ปกติแล้วยังสามารถรังวัด Static…

Continue Reading →

เมื่อลมพัดหวน : Kivy framework เครื่องมือพัฒนาแอพสำหรับโทรศัพท์มือถือ

จากที่ผมรอคอยโครงการ Beeware มาจะร่วมๆสามปีแล้ว แต่พบว่าความก้าวหน้าของโครงการมีการเคลื่อนไหวน้อยมากเหมือนจะหยุดนิ่งสนิท สำหรับโครงการ Beeware คือโครงการทำเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมข้ามแพล็ตฟอร์มเพื่อให้ผู้ใช้งานพัฒนาซอฟท์แวร์ด้วยภาษาไพธอน ให้สามารถใช้งานได้ทุกแพล็ตฟอร์มอย่างหลากหลายโดยเฉพาะบนโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์และ iOS เป็นโครงการเปิดโค้ด (open-source) ที่อาศัยการระดมทุนเพื่อหาเงินให้โครงการสามารถเดินหน้าต่อไปได้ สำหรับ Kivy framework (ภาษาไทยออกเสียงกีวี เป็นคำพ้องเสียง Kiwi ที่เป็นชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง) ผมได้ศึกษาเบื้องต้นเมื่อเกือบจะสิบปีที่แล้ว…

Continue Reading →

วิธีการออกแบบและรังวัดโครงข่าย GNSS ฉบับคนเดินถนน (ตอนที่ 1)

ผมว่าในปัจจุบันนี้ ช่างสำรวจหรือวิศวกรสำรวจคงมีประสบการณ์การรังวัด GNSS ด้วยกันทุกคน โดยเฉพาะการรังวัดที่มีจำนวนหมุดมากกว่าสามหมุดขึ้นไป ก็ออกตัวตามชื่อบทความนะครับคือฉบับคนเดินถนน ไม่ใช่ฉบับผู้เชี่ยวชาญใดๆ เป็นแค่ end user คนหนึ่งกลั่นมาจากอ่านตำราและประมวลมาจากประสบการณ์ทำงานที่ลองผิดลองถูกและจากผิดพลาดของตัวผมเอง ในการรังวัดโครงข่าย GNSS ในที่นี้จะมาขอเน้นเรื่องคาบการรังวัด (session), เส้นฐานอิสระ(independent baseline) และ เส้นฐานไม่อิสระ(dependent (trivial)…

Continue Reading →

มหาเทพ HP Prime G2 ตอนโปรแกรมคำนวณโค้งดิ่ง (Vertical Curve)

บทความเครื่องคิดเลข HP Prime G2 นับเป็นบทความที่ 3 จากโค้งราบ (Horizontal Curve) มาสู่โค้งสไปรัล (Spiral Curve) และในบทความนี้จะมาปิดที่โค้งดิ่ง (Vertical Curve) สำหรับโค้งทั้งหลายเหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้กับงานถนน, รถไฟ และรถไฟฟ้า โค้งดิ่ง (Vertical…

Continue Reading →

ไขความลับดำมืดโค้งสไปรัล ตอนที่ 2 (จบ)

ทิ้งระยะจากตอนที่ 1 ไปนานพอสมควร มาต่อตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบ สิ่งที่ผมนำเสนอและย้ำไปในตอนที่ 1 คือสูตรคำนวณโค้งสไปรัลไม่ได้เยอะมาก การคำนวณแบ่งได้เป็น สามส่วนคือส่วนแรกคำนวณหาส่วนประกอบโค้งสไปรัล จากโจทย์ที่กำหนดให้ความยาวโค้งสไปรัล (Ls) รัศมีโค้งวงกลม (Rc) และมุมเบี่ยงเบน (Δ) รวมถึงทิศทางโค้งเลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวา เพียงแค่นี้ก็สามารถคำนวณหา Δs,…

Continue Reading →

ไขความลับดำมืดโค้งสไปรัล ตอนที่ 1

จากที่ผมได้เขียนโปรแกรมลงเครื่องคิดเลข HP Prime G2 คำนวณโค้งสไปรัล ทำให้เห็นว่าจะต้องใช้สูตรตัวไหน เริ่มต้นคำนวณอย่างไร เป็นลำดับขั้นตอนไปอย่างไร ช่างสำรวจหรือวิศวกรสำรวจน้อยคนนักที่จะได้คำนวณโค้งสไปรัล ปัจจุบันโปรแกรมออกแบบงานถนน งานรถไฟอย่าง Civil 3D สามารถออกแบบงานได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ การไปเลเอ้าท์หน้างานก็อาศัยโปรแกรมจากแคด จึงทำให้โอกาสน้อยคนที่จะสามารถคำนวณเองด้วยมือได้ ความลับดำมืดจึงยังคงอยู่กับโค้งสไปรัลต่อไป แต่ถ้าตั้งใจทำความเข้าใจลำดับการคำนวณโค้งสไปรัลก็ไม่ได้ยากเลย เพียงแต่ต้องหาสูตรให้ถูกที่ถูกทางก่อน หลายๆสูตรไปผูกกับหน่วยฟุตแนบแน่น…

Continue Reading →