OpenDroneMap – การคำนวณโดยการใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point) ตอนที่ 1

สำหรับงานสำรวจทำแผนที่ นับว่าการบินโดรนเพื่อมาทำแผนที่ให้ได้พิกัดโลกที่ละเอียดนำไปใช้งานได้นั้น วิธีการดั้งเดิมคือใช้จุดบังคับภาพถ่าย (Ground Control Point – GCP) สมัยใหม่อาจจะใช้ RTK/PPK ก็ให้ความสะดวกมากขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า มาลองดูกันว่าการใช้จุดบังคับภาพถ่ายเพื่อนำมาใช้ในโปรแกรมฟรี OpenDroneMap จะเป็นยังไง ความยากความง่าย ความสะดวกจะขนาดไหน การกำหนดจุดบังคับภาพถ่ายโดยใช้ GCP ถ้าผู้อ่านรุ่นราวคราวเดียวกับผม เคยเรียนวิชา…

Continue Reading →

แนะนำโปรแกรมงานคำนวณภาพถ่ายทางอากาศ(โดรน) ด้วย OpenDroneMap (ฟรี) ตอนที่ 2

ตอนที่ 1 ผมได้แนะแนววิธีการติดตั้ง OpenDroneMap ไปอย่างย่อและได้แนะนำลิ๊งค์ให้ไปดูกันต่อที่ละเอียดมาก มาในตอนนี้มาทดสอบวิธีการคำนวณจากชุดภาพตัวอย่าง ODMData ตามไปที่ลิ๊งค์นี้ จะเห็นข้อมูลภาพชุดตัวอย่าง (Dataset) ในฐานะที่ผมเป็นช่างสำรวจ ผมสนใจชุดภาพที่มี GCPs (Ground Control Points) และชุดภาพที่มีค่าพิกัดจาก RTK ติดมาที่แท็กหรือ Exif…

Continue Reading →

แนะนำโปรแกรมงานคำนวณภาพถ่ายทางอากาศ(โดรน) ด้วย OpenDroneMap (ฟรี) ตอนที่ 1

ช่วงสิบปีที่ผ่านมานี้ ต้องยอมรับว่างานสำรวจทำแผนที่ด้วยโดรนจะมาแรงมาก ตอนนี้เทคโนโลยียิ่งล้ำไปไกล รูปถ่ายที่ดีมากละเอียดมากจากเทคโนโลยีของกล้องถ่ายภาพที่ก้าวกระโดด ส่งผลให้งานคำนวณผลลัพธ์ได้ point cloud ที่ละเอียดมากตามไปด้วย ตอนนี้แนวโน้มงานทำแผนที่ด้วยโดรนจากยุคที่ต้องทำ Ground Control Points (GCPs) ในภาคสนาม กำลังจะเข้าสู่ยุคของ RTK/PPK GNSS เนื่องจากเครื่องรับสัญญาน GNSS มีขนาดเล็กลง…

Continue Reading →

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของไลบรารี Proj.4

วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…

Continue Reading →

Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ จากไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์

ในกรณีที่ต้องการค่าความสูงจีออยด์จากจุดที่มีจำนวนมากตัวอย่างเช่นเป็นสิบจุดขึ้นไป การมานั่งคำนวณทีละจุดคงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ผมปรับปรุงโปรแกรมให้สามารถอ่านไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ในรูปแบบ CSV ที่ใช้ตัวแบ่งด้วยเครื่องหมายคอมมา “,” ค่าพิกัดละติจูดและลองจิจูด ต้องเป็นรูปแบบทศนิยม (degree) เท่านั้น การจัดเรียงค่าพิกัดของให้ขึ้นต้นด้วยค่าลองจิจูดตามด้วยเครื่องหมายคอมม่าและค่าละติจูด ไฟล์ทดสอบ ไฟล์ที่จะมาทดสอบโปรแกรม ผมสร้างจากโค้ดภาษาไพทอน ให้สุ่มจำนวนจุดค่าพิกัดขึ้นมา 10000 จุด โดยให้ค่าพิกัดที่สุ่มอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้คือ…

Continue Reading →

โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ Surveyor Pocket Tools : Update คำนวณพื้นที่และ Scale Factor ด้วย TGM2017

สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…

Continue Reading →

Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017

มาตามสัญญาที่ผมบอกว่าจะอัพเดท Surveyor Pocket Tools โปรแกรมช่างสำรวจฉบับกระเป๋า ให้สามารถใช้งานคำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017 (Thailand Precise Geoid Model 2017) ดั้งเดิมสามารถคำนวณบนโมเดล EGM96 และ EGM2008 เพียงเท่านั้น เปลี่ยนวีธีการคำนวณโดยใช้ไลบรารี Proj4 ดั้งเดิมตอนคำนวณหาความสูงจีออยด์บน…

Continue Reading →

ทดสอบคำนวณหาความสูงจีออยด์ TGM2017 ด้วยไลบรารี Proj.4

ไม่นานมานี้มีผมดาวน์โหลดไฟล์โปรแกรมและข้อมูลของ TGM2017 เรียกเต็มๆคือ Thailand Geoid Model 2017 ที่เป็นโครงการร่วมมือจากหลายๆฝ่ายของทางราชการ ผมยังไม่มีโอกาสได้นำไปใช้งาน โดยเฉพาะจะนำมาประยุกต์ใช้ในงานรังวัด GNSS ถือว่าเป็นสิ่งที่พวกเรารอคอยมานานที่จะได้มี local geoid model มาใช้งานกัน โดยเฉพาะงานรังวัด GNSS เมื่อคำนวณแล้วจะได้ค่าพิกัดทางราบ และทางดิ่งจะได้ความสูง…

Continue Reading →

แก้ไขจอดับ: Surveyor Pocket Tools แสดงแผนที่บน Google Maps (สัจธรรมโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี)

ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา ถ้าผู้ใช้ใช้งาน Surveyor Pocket Tools ลองปักหมุดผ่านโปรแกรมนี้ จะเห็นว่าจอดับแสดงข้อความว่า “For development purpose only” เพราะว่ากูเกิ้ลเปลี่ยนมาเก็บเงินผู้ใช้โดยเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรม โดยที่ผู้พัฒนาจะต้องขอ API Key จากทางกูเกิ้ลก่อน…

Continue Reading →

ทดสอบเขียนโปรแกรมไพทอน (Python) บนเครื่องคิดเลข Casio fx-cg50 Prizm

ไพทอนบนเครื่องคิดเลข ช่วงนี้ผมมีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับภาคสนาม ทำให้มีโอกาสได้จับและใช้เครื่องคิดเลขมากกว่าปกติ ในเวลาที่ผ่านมาไม่ถึงเดือนผมได้ซื้อเครื่องคิดเลข Casio fx-CG50 Prizm เคสสีขาว ที่ซื้อมาเพราะทราบว่าถ้า update OS เป็นรุ่น 3.20 จะสามารถใช้ ไพทอน (Python) ได้ ก็ขอหมายเหตุสักนิดว่าเป็นไมโครไพทอน (Micropython) ที่ทางทีมงาน…

Continue Reading →