ติดปีกเครื่องคิดเลขเทพ Casio fx 9860G II SD ด้วยโปรแกรมภาษาซีบน AddIn ตอนที่ 1 โปรแกรมแปลงพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic Calc)

รอคอยมานานแต่ไม่รู้ว่าสิ่งที่รอคอยมันคืออะไร สำหรับคนที่เคยเขียนโปรแกรมลงเครื่องคิดเลขคาสิโอ ถ้าเคยเขียนโปรแกรมมิ่งบนระบบใหญ่ๆมาก่อนเช่นจาวา ซี หรือไพทอน จะรู้สึกว่าโดนมัดมือมัดเท้าทำอะไรไม่ถนัด ภาษาเบสิคของคาสิโอ (basic casio) ก็ดูจะหน่อมแน๊ม ตัวแปรก็จำกัดไม่กี่ตัว เมมโมรีสำหรับเก็บโปรแกรมก็น้อยนิดเดียว เขียนฟังก์ชั่นก็ไม่ถนัด ก็เลยได้แต่โปรแกรมอะไรที่ง่ายๆ ใช้ตัวแปรไม่มาก  แต่ไม่นานที่ผ่านมา เผอิญไปค้นหาในอินเทอร์เน็ต โดยที่หาโปรแกรมแบบ basic casio…

Continue Reading →

คอมไพล์ Python Script เป็นไฟล์ Executable ด้วย PyInstaller

PyInstaller คือเครื่องมือที่ช่วยการแปลงโปรแกรมที่เขียนด้วยไพทอนเป็น execute binary file  ที่สามารถนำไปรันได้โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางไม่ต้องติดตั้งไพทอน สำหรับ PyInstaller เป็น cross-platform สามารถใช้งานได้บนวินโดส์ แมค และลีนุกซ์ สนับสนุนไพทอนรุ่น 2.7 และ ไพทอน รุ่น 3.3 ถึง…

Continue Reading →

ก้าวไปอีกหนึ่งก้าวกับ XSection Plot

สวมวิญญานใหม่ด้วย PySide2 หลังจากผมคอมไพล์ XSection Plot ใหม่ด้วยสภาวะแวดล้อมพัฒนาของ Qt5 platform ด้วย PySide2 ผมเปลี่ยนลิขสิทธิ์ของโปรแกรมเดิมที่กำกวมออกมาฟรีสมบูรณ์แบบเหมือนกันกับ Surveyor Pocket Tools สามารถนำไปทำซ้ำแจกจ่ายได้ตามอัธยาศัย แต่ห้ามดัดแปลง ห้ามนำไปจำหน่ายหรือให้เช่า แก้ไข bugs นอกจากย้ายโค้ดมาใช้ PySide2…

Continue Reading →

การตั้งค่า (Settings) ของ Surveyor Pocket Tools

Surveyor Pocket Tools ออกมาตั้งนานแล้วเพิ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ตั้งค่าต่างๆเช่นจำนวนทศนิยมของค่าพิกัด จำนวนทศนิยมของระยะทาง ความสูง หรือแม้แต่ของมุม เมื่อเปิดโปรแกรม Surveyor Pocket Tools จะเห็นมีไอคอน Settings รูปเกียร์เพิ่มดังรูป เมื่อดับเบิ้ลคลิกเข้าไปจะเห็นไดอะล็อก จะมีแท็บ Unit, Linear Precision, Angular…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 1 โปรแกรมแปลงพิกัด “Geo2UTM” บนเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในโอกาสที่บ.เคเอ็นเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีอายุใกล้จะขวบปีแล้ว ผมในฐานะวัยแล้วเกือบจะรุ่นพ่อของน้องๆชุดนี้แล้ว เห็นความตั้งใจของน้องๆ และก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ด้วยความที่สนิทสนมกันก็ถูกลากมาให้เขียนบทความให้เพื่อฉลองครบรอบหนึ่งปี และลงที่นี่ ไม่ใช่ที่บล็อก priabroy.com ที่ประจำ ตอนแรกคิดๆอยู่ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี แต่สุดท้ายก็จะเขียนเรื่องโปรแกรมมิ่งเครื่องคิดเลข เพราะว่าเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุดสำหรับช่างสำรวจ ช่างโยธาของเรา บทความนี้คงจะมีหลายตอนก็มาติดตามกัน ย้อนอดึตแห่งความทรงจำ เครื่องคิดเลข…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 2 โปรแกรมแปลงพิกัด “UTM2Geo” บนเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

โปรแกรม “UTM2Geo” สำหรับเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน พบกันตอนนี้เป็นตอนที่ 2 แล้วครับ ตอนแรกนำเสนอโปรแกรม “Geo2UTM” แปลงพิกัดจากคาพิกัดภูมิศาสตร์ (แลตติจูด/ลองจิจูด) ไปเป็นค่าพิกัดบนระบบพิกัดฉาก UTM มาตอนนี้กลับกันครับ เราจะมาเขียนโปรแกรมที่แปลงพิกัดจากระบบพิกัดฉากยูทีเอ็มไปเป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์ มาเขียนบทความที่นี่ให้กับ kns-engineering…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 3 โปรแกรมคำนวณระยะทางบนทรงรี สำหรับเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

โปรแกรมคำนวณระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรี (Geodesic Distance)  สวัสดีครับผู้อ่านกลับมาพบกันอีกครั้ง ครั้งนี้หอบเอาสูตรยาวๆมาฝากกัน เรื่องระยะทางบนทรงรีความจริงจัดอยู่ในหมวด  Geodesy ที่ถือว่าเป็นเรื่องยากสำหรับนักศึกษาสมัยก่อน เพราะคำนวณทีต้องเปิดตารางล็อก สมัยนี้ถ้าทำความเข้าใจก็ไม่ได้ยากแล้วครับ มีตัวช่วยมากมายเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรีเรียกว่า Geodesic Distance ถือว่าเป็นะระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรี จัดเป็นสูตรที่มีมานานนมแล้ว นักคณิตศาสตร์สมัยก่อนคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวณระยะทางที่สั้นที่สุดเช่นสำหรับการเดินเรือเดินข้ามมหาสมุทร เพราะแผนที่ที่เราใช้กัน ถ้าเมืองท่าที่ต้องการเดินทางนั้นอยู่กันไกลหลายพันไมล์ทะเล จะเอาดินสอมาขีดตรงๆเชื่อมกันบนแผนที่เดินเรือ…

Continue Reading →

การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1

ในตอนที่แล้วได้เกริ่นไปเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ที่จะออกแบบประยุกต์มาใช้งานเพื่อให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างบนระนาบพิกัดฉากตัวนี้สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง scale factor คือแบบที่ออกแบบบนระบบพิกัดฉากยาวเท่าไหร่เมื่อก่อสร้างแล้วไปวัดในสนามต้องได้เกือบเท่ากัน (แต่ต่างก้นน้อยมากๆ) และที่สำคัญที่สุดคือช่วงก่อสร้าง ช่างสำรวจสามารถวางผัง (Setting out หรือ Layout) โดยที่ไม่ต้องใช้สเกลแฟคเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสเกลแฟคเตอร์ที่ได้จากเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำจะมีค่าใกล้กับ 1.0 มากๆ จนสามารถละเลยไปได้ เครื่องมือช่วยในการออกแบบเส้นโครงแผนที่ต่ำ ผมเขียนทูลส์ตัวเล็กๆไว้ชื่อ…

Continue Reading →

เริ่มต้น Python ด้วย PySide2 + Miniconda + PyCharm

ขอนำเสนอวิธีการติดตั้งในเบื้องต้นเพื่อใช้ PySide2 สำหรับผู้ที่เริ่มต้นศึกษาเขียนไพทอน บางครั้งไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหน ผมจะขอแนะนำสามสหายที่จะมาช่วยทำให้ชีวิตง่ายขึ้น PySide2 อยู่ระหว่างการพัฒนาจากเจ้าของ Qt framework เองจึงไม่ต้องห่วงว่าโครงการจะล้มลาเลิกร้างกันก่อน ฟรีและมีสัญญาอนุญาตแบบ LPGL v2 สามารถพัฒนาโปรแกรมเพื่อการค้าได้ รุ่นเสถียรอีกไม่นานนักน่าจะออกมาแล้ว Miniconda3 เป็นส่วนหนึ่งของ Anaconda ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คสำหรับการทำ data science สำหรับภาษาไพทอน…

Continue Reading →

ปลดพันธนาการ PyQt5 ด้วย PySide2

ตอนนี้ถือว่ามาเล่าสู่กันฟังจากประสบการณ์ เป็นเรื่องโปรแกรมมิ่ง ถ้าไม่สนใจเรื่องโปรแกรมมิ่งก็ผ่านไปได้ครับ PyQt5 กับลิขสิทธิ์แบบ GPL v3 ผมเขียนไพทอนด้วยการใช้ PyQt5 มาได้สักระยะเวลาหนึ่ง น่าจะสองปีกว่าได้ ยอมรับว่าชอบมากๆ ก็ไม่ได้ระแวดระวังเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เท่าไหร่นัก ลิขสิทธิ์ของ PyQt5 เป็นแบบ GPL v3 ซึ่งสาระโดยรวมๆสามารถเอาไปใช้ได้สองกรณีคือ พัฒนาโปรแกรมแบบเปิดโค๊ด…

Continue Reading →