Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ จากไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์

ในกรณีที่ต้องการค่าความสูงจีออยด์จากจุดที่มีจำนวนมากตัวอย่างเช่นเป็นสิบจุดขึ้นไป การมานั่งคำนวณทีละจุดคงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ผมปรับปรุงโปรแกรมให้สามารถอ่านไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ในรูปแบบ CSV ที่ใช้ตัวแบ่งด้วยเครื่องหมายคอมมา “,” ค่าพิกัดละติจูดและลองจิจูด ต้องเป็นรูปแบบทศนิยม (degree) เท่านั้น การจัดเรียงค่าพิกัดของให้ขึ้นต้นด้วยค่าลองจิจูดตามด้วยเครื่องหมายคอมม่าและค่าละติจูด ไฟล์ทดสอบ ไฟล์ที่จะมาทดสอบโปรแกรม ผมสร้างจากโค้ดภาษาไพทอน ให้สุ่มจำนวนจุดค่าพิกัดขึ้นมา 10000 จุด โดยให้ค่าพิกัดที่สุ่มอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้คือ…

Continue Reading →

โปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ Surveyor Pocket Tools : Update คำนวณพื้นที่และ Scale Factor ด้วย TGM2017

สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…

Continue Reading →

Update : โปรแกรม Surveyor Pocket Tools คำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017

มาตามสัญญาที่ผมบอกว่าจะอัพเดท Surveyor Pocket Tools โปรแกรมช่างสำรวจฉบับกระเป๋า ให้สามารถใช้งานคำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017 (Thailand Precise Geoid Model 2017) ดั้งเดิมสามารถคำนวณบนโมเดล EGM96 และ EGM2008 เพียงเท่านั้น เปลี่ยนวีธีการคำนวณโดยใช้ไลบรารี Proj4 ดั้งเดิมตอนคำนวณหาความสูงจีออยด์บน…

Continue Reading →

แก้ไขจอดับ: Surveyor Pocket Tools แสดงแผนที่บน Google Maps (สัจธรรมโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี)

ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา ถ้าผู้ใช้ใช้งาน Surveyor Pocket Tools ลองปักหมุดผ่านโปรแกรมนี้ จะเห็นว่าจอดับแสดงข้อความว่า “For development purpose only” เพราะว่ากูเกิ้ลเปลี่ยนมาเก็บเงินผู้ใช้โดยเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรม โดยที่ผู้พัฒนาจะต้องขอ API Key จากทางกูเกิ้ลก่อน…

Continue Reading →

การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 2 (กรณีศึกษาออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำสำหรับกรุงเทพมหานครและปริมณฑล)

ผมทิ้งช่วงเรื่องการออกแบบและประยุกต์ใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นระยะเวลาเนิ่นนานพอสมควรเนื่องจากติดภารกิจไปทำงานต่างประเทศที่หาเวลาว่างนานๆได้ยาก ถ้าผู้อ่านไม่ได้ติดตามเรื่องนี้ตั้งแต่ต้นขอให้กลับไปอ่านหรือศึกษาได้ตามลิ๊งค์ตังต่อไปนี้ แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) และ การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1 เรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ในต่างประเทศบางประเทศได้ประยุกต์ใช้งานมานานแล้ว ประโยชน์ของเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำเมื่อประยุกต์ใช้แล้วคือ ความต่างระหว่าง Ground Distance และ…

Continue Reading →

การตั้งค่า (Settings) ของ Surveyor Pocket Tools

Surveyor Pocket Tools ออกมาตั้งนานแล้วเพิ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ตั้งค่าต่างๆเช่นจำนวนทศนิยมของค่าพิกัด จำนวนทศนิยมของระยะทาง ความสูง หรือแม้แต่ของมุม เมื่อเปิดโปรแกรม Surveyor Pocket Tools จะเห็นมีไอคอน Settings รูปเกียร์เพิ่มดังรูป เมื่อดับเบิ้ลคลิกเข้าไปจะเห็นไดอะล็อก จะมีแท็บ Unit, Linear Precision, Angular…

Continue Reading →

การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1

ในตอนที่แล้วได้เกริ่นไปเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ที่จะออกแบบประยุกต์มาใช้งานเพื่อให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างบนระนาบพิกัดฉากตัวนี้สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง scale factor คือแบบที่ออกแบบบนระบบพิกัดฉากยาวเท่าไหร่เมื่อก่อสร้างแล้วไปวัดในสนามต้องได้เกือบเท่ากัน (แต่ต่างก้นน้อยมากๆ) และที่สำคัญที่สุดคือช่วงก่อสร้าง ช่างสำรวจสามารถวางผัง (Setting out หรือ Layout) โดยที่ไม่ต้องใช้สเกลแฟคเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสเกลแฟคเตอร์ที่ได้จากเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำจะมีค่าใกล้กับ 1.0 มากๆ จนสามารถละเลยไปได้ เครื่องมือช่วยในการออกแบบเส้นโครงแผนที่ต่ำ ผมเขียนทูลส์ตัวเล็กๆไว้ชื่อ…

Continue Reading →

แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection)

 Low Distortion Projection คืออะไร เส้นโครงแผนที่ทุกอันจะมีความเพี้ยน (distortion) เป็นความจริงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเพี้ยนนี้ก็คือระยะทางที่ต่างกันระหว่างวัดจริงๆของจุดสองจุดบนพื้นผิวภูมิประเทศของโลกกับระยะทางที่ได้จากแผนที่ ความเพื้ยนนี้จะมีความสลักสำคัญอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่นที่ผมได้กล่าวไปแล้วใน ตอนก่อนหน้านี้ ที่ค่าความเพื้ยนมากถึง ±823 ppm (ระยะทาง 1 กม. จะมีความเพี้ยนถึง 823 มม. หรือ 82.3 ซม.)…

Continue Reading →

ปลดพันธนาการ PyQt5 ด้วย PySide2

ตอนนี้ถือว่ามาเล่าสู่กันฟังจากประสบการณ์ เป็นเรื่องโปรแกรมมิ่ง ถ้าไม่สนใจเรื่องโปรแกรมมิ่งก็ผ่านไปได้ครับ PyQt5 กับลิขสิทธิ์แบบ GPL v3 ผมเขียนไพทอนด้วยการใช้ PyQt5 มาได้สักระยะเวลาหนึ่ง น่าจะสองปีกว่าได้ ยอมรับว่าชอบมากๆ ก็ไม่ได้ระแวดระวังเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์เท่าไหร่นัก ลิขสิทธิ์ของ PyQt5 เป็นแบบ GPL v3 ซึ่งสาระโดยรวมๆสามารถเอาไปใช้ได้สองกรณีคือ พัฒนาโปรแกรมแบบเปิดโค๊ด…

Continue Reading →

Surveyor Pocket Tools – ทดสอบโปรแกรมการแปลงพิกัดบน State Plane Coordinate System (SPC)

ในฐานะช่างสำรวจในย่าน AEC บ้านเรา ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับระบบพิกัดที่ส่วนใหญ่ใช้เส้นโครงแผนที่ Transverse Mercator กันส่วนใหญ่ แต่มาเลเซียนั้นต่างออกไปเนื่องจากมีพื้นที่ที่ยาวเฉียงๆ ทั้งสองพื้นที่คั่นด้วยทะเลจีนใต้ พื้นที่แรกอยู่บนเกาะบอร์เนียวอีกพื้นที่หนึ่งติดกับประเทศไทย ทางมาเลเซียใช้เส้นโครงแผนที่ Oblique Mercator ซึ่งเป็นเส้นโครงแผนที่ค่อนข้างซับซ้อนกว่าอันอื่น เรามาลองไปทัศนศึกษาที่หรัฐอเมริกาดูกัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศใหญ่ มีระบบพิกัดและเส้นโครงแผนที่ที่หลากหลายมาก ในฐานะช่างสำรวจพอจะเป็นความรู้ประดับบ่ากันไว้นิดๆหน่อยๆ ไม่ถือว่าเหลือบ่ากว่าแรงจนต้องแบกหาม มาทัศนาผ่านทางโปรแกรมแปลงพิกัด Transform Coordinate…

Continue Reading →