ผมได้เริ่มจัดทำคลิปสอนการใช้งานโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ ซึ่งจะเป็นการย่นระยะเวลาทำความเข้าใจกับการใช้โปรแกรมได้เร็วกว่า จากที่เดิมผมเคยอธิบายประกอบภาพแบบแห้งๆ 1.คลิปสอนการใช้งานทูลส์ Geo-UTM Converter การแปลงพิกัดระหว่างระบบพิกัดฉาก UTM และค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (Geographic) บนพื้นหลักฐาน เดียวกันคือ WGS84 สามารถแปลงพิกัดโดยทูลส์ตัวนี้ เพียงแค่ป้อนค่าพิกัดที่ต้องการแปลงแล้วทำการแปลงพิกัดได้อย่างง่ายดาย และมีความสะดวกในการปักหมุดลง Google Maps 2.คลิปสอนการใช้งานทูลส์ Transform…
จากบทความที่แล้ว ผมได้พาย้อนรอยไปดูระบบพิกัดที่ใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน และทางดร.ไพศาล ได้มาไขความกระจ่างว่าวิธีการออกแบบในโครงการนี้เป็นการขยายรูปทรงรีแบบอัตราส่วน (Scale reference ellipsoid) ตามค่าความสูง project plane ที่ทางผู้ออกแบบโครงการนี้ให้มา โดยที่ค่า K0 = 1.0 เป็นค่าคงที่ พร้อมได้เอื้อเฟื้อโค้ดไพทอนสำหรับการแปลงค่าพิกัดมาให้ดูเป็นตัวอย่าง ผมขอขอบคุณมา ณ ที่นี้เป็นอย่างสูง…
ผมได้เสนอบทความไปหลายตอนเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ทั้งความเป็นมา ประโยชน์ ตลอดจนการคำนวณสร้างเส้นโครงแผนที่ มาดูตัวอย่างการใช้งานจริงๆในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่าทางผู้ออกแบบได้มีการวางแผนสร้างเส้นโครงแผนที่นี้อย่างไร นำมาใช้อย่างไรบ้าง ก็ขออนุญาตนำเอกสารบางส่วนในโครงการนี้มาเผยแพร่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพิกัดเส้นโครงแผนที่เท่านั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระบบพิกัดแผนที่ ทางผู้ออกแบบได้แบ่งเป็นสองระบบคือ WGS-UTM (Drawing) เป็นระบบพิกัดยูทีเอ็มใช้พื้นหลักฐาน WGS84 Zone…
สำหรับสถิติการใช้งานระบบปฏิบัติทั้งโลกนี้สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั้งพีซีและโน๊ตบุ๊คในปี 2020 วินโดส์ทุกรุ่นประมาณ 79% แมคโอเอสทุกรุ่น 15% ลีินุกซ์ทุกดิสโทร 2% ที่เหลืออื่นๆเช่น ChromeOS เมื่อมามองดูแมคโอเอสก็ไม่ได้น้อยอย่างที่ผมคิด โปรแกรมตัวที่แล้วที่ผมพอร์ทมาใช้งานคือโปรแกรมคำนวณวงรอบ Traverse Pro ที่พัฒนาด้วย Lazarus + Free pascal compiler…
เนื่องจากในเดิมที Surveyor Pocket Tools โปรแกรมเครื่องมือสำหรับช่างสำรวจฉบับกระเป๋าได้ใช้ไลบรารี PROJ รุ่น 4 หรือเรียกสั้นๆว่า PROJ.4 มาโดยตลอด ในช่วงที่ผ่านมาปีที่แล้ว ปี 2018 ทางโครงการ PROJ ได้รปรับปรุงขนานใหญ่จาก PROJ.5 มาเป็น PROJ.6…
วันนี้มาพูดถึงไลบรารี Proj.4 แบบลึกๆกันหน่อย บทความตอนนี้จะเป็นเรื่องโปรแกรมมิ่งนะครับ ไลบรารีตัวนี้ผมใช้เป็นแกนหลักในโปรแกรมรวมเครื่องมือฉบับกระเป๋าสำหรับช่างสำรวจ (Surveyor Pocket Tools) เอามาแปลงพิกัดกับระบบพิกัดที่ใช้กันในโลกนี้ (อาจจะได้ไม่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ผมได้นำมาคำนวณ Vertical Datum คือสามารถหาความสูงจีออยด์ได้ ในความเป็นจริงถ้ามี Vertical Grid Shift หลายๆอันสามารถแปลงค่าระดับข้ามไปมาได้แบบที่ใช้ในอเมริกา ก็ใช้มาหลายปีแล้ว…
ในกรณีที่ต้องการค่าความสูงจีออยด์จากจุดที่มีจำนวนมากตัวอย่างเช่นเป็นสิบจุดขึ้นไป การมานั่งคำนวณทีละจุดคงไม่ใช่เรื่องที่สะดวกนัก ผมปรับปรุงโปรแกรมให้สามารถอ่านไฟล์ค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ละติจูดและลองจิจูด) ในรูปแบบ CSV ที่ใช้ตัวแบ่งด้วยเครื่องหมายคอมมา “,” ค่าพิกัดละติจูดและลองจิจูด ต้องเป็นรูปแบบทศนิยม (degree) เท่านั้น การจัดเรียงค่าพิกัดของให้ขึ้นต้นด้วยค่าลองจิจูดตามด้วยเครื่องหมายคอมม่าและค่าละติจูด ไฟล์ทดสอบ ไฟล์ที่จะมาทดสอบโปรแกรม ผมสร้างจากโค้ดภาษาไพทอน ให้สุ่มจำนวนจุดค่าพิกัดขึ้นมา 10000 จุด โดยให้ค่าพิกัดที่สุ่มอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมนี้คือ…
สำหรับการคำนวณ Scale Factor ไม่ว่าจะเป็นจุดเดี่ยว (Point scale factor) หรือแบบเส้นตรงเฉลี่ย (Line scale factor) หรือไม่ว่าจะคำนวณพื้นที่จริงที่ทอนจากพื้นที่ตามระบบพิกัดฉากกริด ก็ตามผมเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ TGM2017 (Precise Geoid Model of Thailand 2017)…
มาตามสัญญาที่ผมบอกว่าจะอัพเดท Surveyor Pocket Tools โปรแกรมช่างสำรวจฉบับกระเป๋า ให้สามารถใช้งานคำนวณความสูงจีออยด์ TGM2017 (Thailand Precise Geoid Model 2017) ดั้งเดิมสามารถคำนวณบนโมเดล EGM96 และ EGM2008 เพียงเท่านั้น เปลี่ยนวีธีการคำนวณโดยใช้ไลบรารี Proj4 ดั้งเดิมตอนคำนวณหาความสูงจีออยด์บน…
ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2018 ที่ผ่านมา ถ้าผู้ใช้ใช้งาน Surveyor Pocket Tools ลองปักหมุดผ่านโปรแกรมนี้ จะเห็นว่าจอดับแสดงข้อความว่า “For development purpose only” เพราะว่ากูเกิ้ลเปลี่ยนมาเก็บเงินผู้ใช้โดยเฉพาะผู้พัฒนาโปรแกรม โดยที่ผู้พัฒนาจะต้องขอ API Key จากทางกูเกิ้ลก่อน…