DJI Spark – เมื่อต้องลองของเอาโดรนเซลฟี่ไปบินทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ

DJI Spark ผมมีโอกาสได้ซื้อโดรนตัวแรกสุดในชีวิตเป็นโดรนของ DJI รุ่นเล็กสุดมาลองใช้งานดู สปาร์คถูกออกแบบมาเพื่อด้านสันทนาการเป็นหลักครับ ถ่ายรูปถ่ายคลิปเซลฟี่ มีลูกเล่นเยอะมาก มีตังค์เหลือใช้ก็ซื้อมาใช้ได้ ไม่ผิดหวังแม้แต่ประการใด   ข้อดี ใช้ง่าย ราคาย่อมเยาว์ บังคับได้สามอย่างคือทั้งภาษาท่าทางมือ (Gesture), โทรศัพท์มือถือต่อตรงกับโดรน และ รีโมทคอนโทรล (Remote…

Continue Reading →

คอมไพล์ Python Script เป็นไฟล์ Executable ด้วย PyInstaller

PyInstaller คือเครื่องมือที่ช่วยการแปลงโปรแกรมที่เขียนด้วยไพทอนเป็น execute binary file  ที่สามารถนำไปรันได้โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางไม่ต้องติดตั้งไพทอน สำหรับ PyInstaller เป็น cross-platform สามารถใช้งานได้บนวินโดส์ แมค และลีนุกซ์ สนับสนุนไพทอนรุ่น 2.7 และ ไพทอน รุ่น 3.3 ถึง…

Continue Reading →

ก้าวไปอีกหนึ่งก้าวกับ XSection Plot

สวมวิญญานใหม่ด้วย PySide2 หลังจากผมคอมไพล์ XSection Plot ใหม่ด้วยสภาวะแวดล้อมพัฒนาของ Qt5 platform ด้วย PySide2 ผมเปลี่ยนลิขสิทธิ์ของโปรแกรมเดิมที่กำกวมออกมาฟรีสมบูรณ์แบบเหมือนกันกับ Surveyor Pocket Tools สามารถนำไปทำซ้ำแจกจ่ายได้ตามอัธยาศัย แต่ห้ามดัดแปลง ห้ามนำไปจำหน่ายหรือให้เช่า แก้ไข bugs นอกจากย้ายโค้ดมาใช้ PySide2…

Continue Reading →

แนะนำการย้ายโค้ดจาก PyQt5 เป็น PySide2

ย้ายโค้ด XSection Plot ในขณะนี้ทำงานอยู่ที่บังคลาเทศ โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าที่กรุงธากา มีโอกาสกลับมาพัก ก็พอมีเวลาว่างพยายามย้ายโค้ดของโปรแกรม XSection Plot จากของเดิมที่พัฒนาด้วย PyQt5 ที่ยังติดเรื่องลิขสิทธิ์บางส่วน โดยย้ายมาใช้ PySide2 ที่เปิดกว้างกว่า ความจริงทั้งคู่ใช้เครื่องยนต์ (Engine) เดียวกันคือ Qt5 platform…

Continue Reading →

การตั้งค่า (Settings) ของ Surveyor Pocket Tools

Surveyor Pocket Tools ออกมาตั้งนานแล้วเพิ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ตั้งค่าต่างๆเช่นจำนวนทศนิยมของค่าพิกัด จำนวนทศนิยมของระยะทาง ความสูง หรือแม้แต่ของมุม เมื่อเปิดโปรแกรม Surveyor Pocket Tools จะเห็นมีไอคอน Settings รูปเกียร์เพิ่มดังรูป เมื่อดับเบิ้ลคลิกเข้าไปจะเห็นไดอะล็อก จะมีแท็บ Unit, Linear Precision, Angular…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 1 โปรแกรมแปลงพิกัด “Geo2UTM” บนเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน ในโอกาสที่บ.เคเอ็นเอส เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีอายุใกล้จะขวบปีแล้ว ผมในฐานะวัยแล้วเกือบจะรุ่นพ่อของน้องๆชุดนี้แล้ว เห็นความตั้งใจของน้องๆ และก็ยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในโอกาสนี้ด้วยความที่สนิทสนมกันก็ถูกลากมาให้เขียนบทความให้เพื่อฉลองครบรอบหนึ่งปี และลงที่นี่ ไม่ใช่ที่บล็อก priabroy.com ที่ประจำ ตอนแรกคิดๆอยู่ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี แต่สุดท้ายก็จะเขียนเรื่องโปรแกรมมิ่งเครื่องคิดเลข เพราะว่าเครื่องคิดเลขเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สุดสำหรับช่างสำรวจ ช่างโยธาของเรา บทความนี้คงจะมีหลายตอนก็มาติดตามกัน ย้อนอดึตแห่งความทรงจำ เครื่องคิดเลข…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 2 โปรแกรมแปลงพิกัด “UTM2Geo” บนเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

โปรแกรม “UTM2Geo” สำหรับเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน พบกันตอนนี้เป็นตอนที่ 2 แล้วครับ ตอนแรกนำเสนอโปรแกรม “Geo2UTM” แปลงพิกัดจากคาพิกัดภูมิศาสตร์ (แลตติจูด/ลองจิจูด) ไปเป็นค่าพิกัดบนระบบพิกัดฉาก UTM มาตอนนี้กลับกันครับ เราจะมาเขียนโปรแกรมที่แปลงพิกัดจากระบบพิกัดฉากยูทีเอ็มไปเป็นค่าพิกัดภูมิศาสตร์ มาเขียนบทความที่นี่ให้กับ kns-engineering…

Continue Reading →

สนุกกับโปรแกรมเครื่องคิดเลขสำหรับงานสำรวจ ตอนที่ 3 โปรแกรมคำนวณระยะทางบนทรงรี สำหรับเครื่องคิดเลข Casio FX 5800P

โปรแกรมคำนวณระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรี (Geodesic Distance)  สวัสดีครับผู้อ่านกลับมาพบกันอีกครั้ง ครั้งนี้หอบเอาสูตรยาวๆมาฝากกัน เรื่องระยะทางบนทรงรีความจริงจัดอยู่ในหมวด  Geodesy ที่ถือว่าเป็นเรื่องยากสำหรับนักศึกษาสมัยก่อน เพราะคำนวณทีต้องเปิดตารางล็อก สมัยนี้ถ้าทำความเข้าใจก็ไม่ได้ยากแล้วครับ มีตัวช่วยมากมายเช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ ระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรีเรียกว่า Geodesic Distance ถือว่าเป็นะระยะทางที่สั้นที่สุดบนทรงรี จัดเป็นสูตรที่มีมานานนมแล้ว นักคณิตศาสตร์สมัยก่อนคิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยในการคำนวณระยะทางที่สั้นที่สุดเช่นสำหรับการเดินเรือเดินข้ามมหาสมุทร เพราะแผนที่ที่เราใช้กัน ถ้าเมืองท่าที่ต้องการเดินทางนั้นอยู่กันไกลหลายพันไมล์ทะเล จะเอาดินสอมาขีดตรงๆเชื่อมกันบนแผนที่เดินเรือ…

Continue Reading →

การออกแบบเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection) ตอนที่ 1

ในตอนที่แล้วได้เกริ่นไปเรื่องเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ ที่จะออกแบบประยุกต์มาใช้งานเพื่อให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างบนระนาบพิกัดฉากตัวนี้สามารถทำได้ง่าย ไม่ต้องกังวลกับเรื่อง scale factor คือแบบที่ออกแบบบนระบบพิกัดฉากยาวเท่าไหร่เมื่อก่อสร้างแล้วไปวัดในสนามต้องได้เกือบเท่ากัน (แต่ต่างก้นน้อยมากๆ) และที่สำคัญที่สุดคือช่วงก่อสร้าง ช่างสำรวจสามารถวางผัง (Setting out หรือ Layout) โดยที่ไม่ต้องใช้สเกลแฟคเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะสเกลแฟคเตอร์ที่ได้จากเส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำจะมีค่าใกล้กับ 1.0 มากๆ จนสามารถละเลยไปได้ เครื่องมือช่วยในการออกแบบเส้นโครงแผนที่ต่ำ ผมเขียนทูลส์ตัวเล็กๆไว้ชื่อ…

Continue Reading →

แนะนำการใช้เส้นโครงแผนที่ความเพี้ยนต่ำ (Low Distortion Projection)

 Low Distortion Projection คืออะไร เส้นโครงแผนที่ทุกอันจะมีความเพี้ยน (distortion) เป็นความจริงที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ความเพี้ยนนี้ก็คือระยะทางที่ต่างกันระหว่างวัดจริงๆของจุดสองจุดบนพื้นผิวภูมิประเทศของโลกกับระยะทางที่ได้จากแผนที่ ความเพื้ยนนี้จะมีความสลักสำคัญอย่างมาก ดังตัวอย่างเช่นที่ผมได้กล่าวไปแล้วใน ตอนก่อนหน้านี้ ที่ค่าความเพื้ยนมากถึง ±823 ppm (ระยะทาง 1 กม. จะมีความเพี้ยนถึง 823 มม. หรือ 82.3 ซม.)…

Continue Reading →